คอร์น เฟอร์รี่ เผยภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะในอนาคต อาจกระทบการเติบโตของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกอย่างมหาศาล
คอร์น เฟอร์รี่ เผยภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะในอนาคต
อาจกระทบการเติบโตของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกอย่างมหาศาล
— ทั่วภูมิภาคอาจเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะถึง 47 ล้านคนในปี ค.ศ. 2030 —
— อาจเกิดโอกาสสูญเสียรายได้กว่า 4.238 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 133.54 ล้านล้านบาท หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม —
— การขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย อาจก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ถึง 8.1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 255.23 พันล้านบาท สูงเป็นอันดับ 2 รองจากจีน —
________________________________________
กรุงเทพฯ 4 พฤษภาคม 2561 – ผลการศึกษาโดยคอร์น เฟอร์รี่ (รหัสในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก: KFY) เปิดเผยในวันนี้ว่า การขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะซึ่งปัจจุบันถือเป็นปัญญาใหญ่ในหลายประเทศ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2030 หากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม
“บริษัทต่าง ๆ ต้องหาแนวทางบรรเทาวิกฤติการขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะที่อาจเกิดขึ้น เพื่อปกป้องอนาคตของบริษัทเอง” ไมเคิล ดิสเตฟาโน ประธานกรรมการ คอร์น เฟอร์รี่ เอเชีย แปซิฟิก กล่าว “หากปล่อยไว้จนสายเกินการณ์ ปัญหาการขาดแคลนนี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเติบโตของตลาดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยภาวะการขาดดุลแรงงานผู้มีทักษะมากกว่า 12.3 ล้านคนภายในปี 2020 จะพุ่งสูงถึง 47.0 ล้านคนภายในปี 2030 และก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ประจำปีถึง 4.238 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วภูมิภาค”
งานศึกษาภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะทั่วโลกของ คอร์น เฟอร์รี่ (Korn Ferry’s Global Talent Crunch Study) ได้ประเมินช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของแรงงานผู้มีทักษะในเขตเศรษฐกิจหลัก 20 เขตที่ 3 ช่วงเวลา คือปี 2020, 2025 และ 2030 ครอบคลุม 3 ภาคธุรกิจ ได้แก่ ภาคบริการทางการเงินและธุรกิจ, ภาคเทคโนโลยี สื่อและโทรคมนาคม (TMT) และภาคอุตสาหกรรมการผลิต
ปัญหาการขาดดุลแรงงานผู้มีทักษะอาจสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจและภาคธุรกิจต่าง ๆ ทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก ดังนี้
● จีนจะประสบภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะมากที่สุดและอาจสูญเสียรายได้ประจำปีสูงถึง 1.433 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 ซึ่งคิดเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาส 1 ใน 3 ของทั้งเอเชียแปซิฟิก
● ภาคบริการทางการเงินและธุรกิจของภูมิภาคจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ด้วยภาวะขาดดุลแรงงานผู้มีทักษะสูงถึง 3.7 ล้านคนภายในปี 2030 ส่งผลให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสในแต่ละปีมากกว่า 439.62 พันล้านดอลลาร์ หากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข
● ภาวะขาดดุลแรงงานผู้มีทักษะที่รุนแรงในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาค TMT ในจีนและญี่ปุ่น (มากถึง 3.2 ล้านคนภายในปี 2030) อาจทำให้อำนาจทางเศรษฐกิจระดับโลกของเอเชียตกอยู่ในความเสี่ยง
● เอเชียแปซิฟิกอาจเผชิญการขาดแคลนแรงงานในอนาคตสูงถึง 12.3 ล้านคนภายในปี 2020 และเพิ่มขึ้นถึง 47.0 ล้านคนในปี 2030 ซึ่งจะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสในแต่ละปีสูงถึง 4.238 ล้านล้านดอลลาร์
● ภาคบริการทางการเงินและธุรกิจของจีนและญี่ปุ่นจะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสในแต่ละปีสูงถึง 147.10 และ 113.62 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ ภายในปี 2030 ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ในอนาคตของทั้งภูมิภาค ทำให้ทั้งสองประเทศจัดเป็นอันดับ 2 และ 4 จาก 20 ประเทศที่อาจเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสสูงที่สุดของโลก โดยอันดับหนึ่งคือสหรัฐอเมริกา
● ภาคอุตสาหกรรมการผลิตจีนจะตกอยู่ในความเสี่ยง จากการขาดแคลนแรงงานกว่า 1.0 ล้านคนและความสูญเสียกว่า 71.43 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2030
● อำนาจของธุรกิจ TMT ญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการขาดแคลนแรงงานมากกว่าครึ่งล้านคน และเกิดความสูญเสียกว่า 47.80 พันล้านดอลลาร์ของรายได้ประจำปีภายในปี 2030 ซึ่งเทียบเท่ากับ 20% ของภาค TMT ทั้งหมดของญี่ปุ่น โดยต้นทุนค่าเสียโอกาสของภาค TMT ญี่ปุ่นจะสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา
● ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั่วเอเชียแปซิฟิกอาจหยุดชะงัก จากการขาดแคลนผู้มีทักษะด้าน TMT ที่สูงถึง 2.0 ล้านคน และเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสในแต่ละปีมากกว่า 151.60 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2030
● อินเดียเป็นประเทศเดียวใน 20 ประเทศที่มีแนวโน้มจะมีแรงงานผู้มีทักษะมากเกินความต้องการ โดยคาดว่าจะมีจำนวนมากเกินถึง 245.3 ล้านคนภายในปี 2030
นายภานุวัฒน์ กาญจะโนสถ Senior Principal คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าว “บริษัทต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ต้องเริ่มตื่นตัวตั้งแต่วันนี้เพื่อป้องกันวิกฤติการณ์ในอนาคต เพราะปัญหาการขาดแคลนแรงงานนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการเติบโตของประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม”
ภาคธุรกิจในประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบดังนี้
● การขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อาจก่อให้เกิดการสูญเสียถึง 256.614 พันล้านบาทสูงเป็นอันดับ 2 รองจากจีน
● การขาดแคลนแรงงานในภาคเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม (TMT) ในปี 2030 อาจก่อให้เกิดการสูญเสียถึง 57.0254 พันล้านบาท
● การขาดแคลนแรงงานในภาคบริการทางการเงินและธุรกิจในปี 2030 อาจก่อให้เกิดการสูญเสียถึง 196.421 พันล้านบาท
● การเติบโตของกำลังการผลิตตั้งแต่ปี 2016 ถึง 2030 จะถูกกำหนดจากค่าเฉลี่ยของอัตราการเติบโตประจำปีของกำลังการผลิตในแต่ละภาคธุรกิจตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2015 (คิดเป็นหน่วยดอลลาร์ต่อคน)
“แรงงานผู้มีทักษะที่เหมาะสมกับงาน ถือป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับองค์กร และแรงงานดังกล่าวจะเริ่มขาดแคลนขึ้นทุกวัน” นายภานุวัฒน์ กล่าว “งานศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่า แรงงานจะมีจำนวนไม่เพียงพอในทุกประเทศภายในปี 2030 ซึ่งองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ต้องหาทางแก้ไขวิกฤติแรงงานนี้ เมื่อเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรง การวางแผนและการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการจัดสรรกำลังคนที่มีทักษะ จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด”
“แนวทางการแก้ไขในอนาคตจะมาจากการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างคนกับเทคโนโลยี กลยุทธ์และรูปแบบการบริหารจัดการที่รวดเร็ว ยืดหยุ่นและ รองรับความต้องการที่เปลี่ยนไปของแรงงานรุ่นใหม่ อันมหาศาลต่อแรงงานที่มีทักษะที่เหมาะสมซึ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจ จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ชี้เป็นชี้ตายในยุคของเรา มากกว่าการที่ธุรกิจจะถูกกระทบโดยเทคโนโลยีดังที่เคยเป็นประเด็นกันเสียอีก” นายภานุวัฒน์ กล่าวเสริม
วิกฤติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดดุลแรงงานทั่วโลกภายในปี 2020 – 2030
● สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรเลีย จะได้รับความเสียหายมากที่สุดในอนาคตอันใกล้นี้ โดยจะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสรวม 1.876 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2020
● การขาดแคลนแรงงานจะรุนแรงที่สุดในภาคบริการทางการเงินละธุรกิจทั่วโลก โดยภาวะขาดดุลผู้มีทักษะอยู่ที่ 10.7 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2030
● ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในทุกภาคธุรกิจทั่วโลกอาจหยุดชะงักเพราะขาดผู้มีทักษะด้าน TMT ถึง 4.3 ล้านคน ภายในปี 2030
● ภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก จะเกิดการขาดดุลผู้มีทักษะสูงถึง 7.9 ล้านคนภายในปี 2030 แม้เป็นภาคธุรกิจเดียวที่มีแรงงานมากเกินความต้องการในปี 2020 ก็ตาม
● อินเดียเป็นประเทศเดียวที่จะมีแรงงานมากเกินความต้องการในปี 2025 และ 2030
● การขาดแคลนผู้มีทักษะจะกระทบต่อการเติบโตทั่วโลกภายในปี 2020
● ภายในปี 2030 อาจเกิดการขาดดุลแรงงานถึง 85.2 ล้านคน
● ก่อให้เกิดการสูญเสียรายประจำปีกว่า 8.452 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 เทียบเท่ากับผลผลิตมวลรวมของเยอรมนีและญี่ปุ่น
● ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ โดยมีต้นทุนค่าเสียโอกาสรวมสูงถึง 1.876 ล้านล้านดอลลาร์ของรายได้ประจำปี ภายในปี 2020 ที่จะมาถึงนี้
● ตลาดที่พัฒนาแล้วจะได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการขาดแคลนแรงงานในอนาคต
ผลกระทบที่อาจเกิดกับเขตเศรษฐกิจสำคัญของโลก
● สหรัฐฯ จะเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะอย่างรุนแรง และจะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ จนทำให้สูญเสียรายได้ประจำปีกว่า 1.748 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 เทียบเท่ากับ 6% ของเศรษฐกิจของประเทศ
● เยอรมนีจะเกิดการขาดดุลแรงงานสูงสุดในแถบยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มากถึง 4.9 ล้านคนและสูญเสียกว่า 630 พันล้านดอลลาร์ของรายได้ประจำปี ซึ่งเทียบเท่า 14% ของเศรษฐกิจประเทศ หากปัญหานี้ไมได้รับการแก้ไข
● ภาคบริการทางการเงินและธุรกิจของสหราชอาณาจักรจะขาดแคลนแรงงาน 676.2 ล้านคน และสูญเสียกว่า 90 พันล้านดอลลาร์ของรายได้ประจำปีภายในปี 2030 ซึ่งเทียบเท่า 7% ของเศรษฐกิจของภาคธุรกิจนี้
งานศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลและข่าวกรองทางธุรกิจ เพื่อศึกษาถึงขอบเขตการขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะใน 20 เขตเศรษฐกิจหลัก ซึ่งได้แก่
ทวีปอเมริกา – บราซิล เม็กซิโก สหรัฐฯ
แถบยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา – ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร
เอเชียแปซิฟิก – ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย
ตลาดของเอเชียแปซิฟิกในการศึกษาครั้งนี้
ความสูญเสียที่คาดการณ์ไว้ในปี 2030 (พันล้านดอลลาร์) / การขาดดุลแรงงานรวมในปี 2030 (คน)
China 1,433.5 -6,739,663
Japan 1,386.8 -13,756,592
Australia 587.6 -4,302,201
Indonesia 442.6 -17,943,311
Hong Kong 219.8 -1,884,657
Singapore 106.8 -1,093,506
Malaysia 6.1 -93,458
Thailand 54.8 -1,191,364
India 0 +245,294,246 (Surplus)
###
*เกี่ยวกับงานศึกษาภาวะการขาดแคลนผู้มีทักษะทั่วโลก (Global Talent Crunch Study)
• งานศึกษา Korn Ferry Global Talent Crunch ใช้แบบจำลองเศรษฐกิจที่ออกแบบโดย Korn Ferry, Man Bites Dog และ Oxford Analytica และดำเนินการโดย Oxford Analytica
• งานศึกษาทำการประเมินการขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น ด้วยการสร้างแบบจำลองช่องว่างระหว่างอุปทานและอุปสงค์แรงงานในอนาคตที่ 3 จุดเวลา คือปี 2020, 2025 และ 2030
• งานศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลและข่าวกรองทางธุรกิจ เพื่อเปิดเผยถึงขอบเขตการขาดแคลนผู้มีทักษะใน 20 เขตเศรษฐกิจหลักทั้งที่พัฒนาแล้วและที่กำลังพัฒนา ซึ่งได้แก่ ทวีปอเมริกา (บราซิล เม็กซิโก สหรัฐฯ) แถบยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร) และเอเชียแปซิฟิก (ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย)
สามารถดูกระบวนการศึกษาทั้งหมดในรายงานการศึกษาภาวะการขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะทั่วโลกได้ที่ The Global Talent Crunch report
เกี่ยวกับคอร์น เฟอร์รี่
คอร์น เฟอร์รี่ เป็นบริษัทผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์กรชั้นนำระดับโลก เราให้ความช่วยเหลือบรรดาบริษัทต่าง ๆ ในการออกแบบองค์กร ทั้งในแง่โครงสร้าง บทบาท และขอบเขตความรับผิดชอบ ตลอดจนรูปแบบการจ่ายผลตอบแทน การพัฒนา และการสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่บุคลากร เรายังให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรในการคัดสรรและจ้างงานบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์บริษัท คอร์น เฟอร์รี่ ดำเนินงานด้วยทีมงานกว่า 7,000 คนเพื่อให้บริการลูกค้าในมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก