คอนเนคติ้ง ฟาวเดอร์ส จัดเสวนา “ผู้ประกอบการกับการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ในภูมิภาคเอเชีย”

0
288
image_pdfimage_printPrint

Connecting-founders-Logo

คอนเนคติ้ง ฟาวเดอร์ส จัดกิจกรรม วูแมน อิน บิสซิเนส (Women in Business) ประจำเดือนตุลาคม ณ มหาวิทยาลัย นานาชาติแสตมฟอร์ด กรุงเทพฯ ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. – 21.00 น. ภายใต้หัวข้อ ผู้ประกอบการในเอเชียกับการตระหนักถึงสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม และ เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวอย่างไรให้สังคมและการทำธุรกิจสอดคล้องกัน

ผู้ประกอบการหรือบริษัทต่างๆ ที่คำนึงถึงการรับผิดชอบต่อสังคม มีเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ผู้ประกอบการเหล่านี้จะคำนึงถึงพันธกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม และพยายามที่จะช่วยเหลือชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งถือได้ว่าหน้าที่นี้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม โดยปัจจุบันนี้ได้มีกฎระเบียบว่าด้วยการรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อใช้ในการสนับสนุนการทำงานของบริษัทเหล่านี้
ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 18.00 – 21.00 น. คอนเนคติ้ง ฟาวเดอร์ส ได้เชิญวิทยากร 3 ท่าน เพื่อร่วมเสวนาในเรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบการที่มีต่อการรับผิดชอบต่อสังคมในภูมิภาคเอเชีย วิทยากรท่านแกร ได้แก่ น.ส. อลิสา นภาทิวาอำนวย ซึ่งเคยทำงานด้านบริหารโครงการรับผิดชอบและพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของศูนย์การค้ารายใหญ่ ปัจจุบันเธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท มายโซเชียลโมชัน เจ้าของโครงการโซเชียลกีฟเวอร์ (socialgiver.com) สำหรับโซเชียลกีฟเวอร์ นำเสนอโครงการออกแบบระบบการบริจาคเงินผ่านการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งได้รับส่วนลดในการเข้าใช้บริการห้องพักโรงแรม ร้านอาหาร สปา และการทำกิจกรรมต่างๆ และนำกำไรที่ได้ไปบริจาคให้แก่โครงการต่างๆ ที่เข้าร่วม โซเชียลกีฟเวอร์ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้บริโภค ธุรกิจ และ โครงการเพื่อสังคมต่างๆ ได้ทำงานร่วมกันเกิดเป็นผลดีต่อสังคมโดยรวมปัจจุบันดำเนินการอยู่เพียงในประเทศไทย แต่ อลิสวางแผนจะขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ ต่อไป
“ดิฉันมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม วูแมน อิน บิสซิเนส ซึ่งจะสามารถสร้างระบบธุรกิจที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ดิฉันยังรวมถึงธุรกิจที่ต้องการเพิ่มมูลค่าองค์กรอย่างยั่งยืน และสามารถเข้าถึงลูกค้าที่สนใจในการสร้างสิ่งดีๆให้กับโลกของเรา” น.ส. อลิสา นภาทิวาอำนวย กล่าว
วิทยากรท่านที่สอง ได้แก่ น.ส. เวอร์จิเนีย แทน เธอมีประสบการณ์ทางด้านกฎหมายและการเงิน เคยทำงานด้านวางแผนกลยุทธ์ทางการลงทุนให้กับบริษัทด้านพลังงาน ทรัพยากร และ โครงสร้างพื้นฐาน ในตลาดที่กำลังเติบโต เธอเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสูงสุดของลีน (Lean) ในประเทศจีน ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้หญิงกว่า 80,000 คน ในกว่า 25 เมือง จาก 50 มหาวิทยาลัย ในประเทศจีน ซึ่งพร้อมที่จะสนับสนุนเป้าหมายของผู้หญิงในจีน เธอก่อตั้งระบบธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการหญิง ซึ่งจะช่วยระดมทุนให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้พบกับเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมระหว่างตะวันออกเข้ากับตะวันตกได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสังคมแห่งนวัตกรรมในประเทศจีนด้วย
วิทยากรอีกท่านหนึ่งคือ ดร. อูริเก กูลิช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาผู้ประกอบการและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต โดยมีประสบการณ์กว่า 25 ปี ในการเป็นผู้ประกอบการ และประสบความสำเร็จจากการดำเนินูรกิจ 2 ธุรกิจด้วยกันในประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอ ปัจจุบันเธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการL7dKkผู้ประกอบการระดับโลก (Global Entrepreneurship Monitor (GEM) ) ในประเทศไทย ซึ่งจะต่อยอดไปถึงระดับโลกด้วย เธอยังเป็นผู้ค้นคว้าระดับอาวุโสและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย กรุงเทพ อีกทั้งร่วมเขียนรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบการในภูมิภาคอาเซียน เช่น รายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบการหญิงในอาเซียน ของ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) และ ข้อเสนอเชิงนโยบายของสังคมความเป็นผู้ประกอบการของ GEM ในปี 2559.
“ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นกำลังเพิ่มขึ้นในเศรษฐกิจและสังคมของเรา อีกทั้งกำลังเรียกหาความพยายามในการเน้นย้ำและแก้ปัญหาในเรื่องนี้มากขึ้น ดิฉันได้ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย และ เรื่องเราจะทำอย่างไรในการสร้างผลต่อสังคมในระยะยาวได้” ดร. อูริเก กูลิช กล่าว
ด้วยประสบการณ์ของเหล่าวิทยากรทั้ง 3 ท่าน คอนเนคติ้ง ฟาวเดอร์ส จะสามารถสร้างแรงกระตุ้นและแรงผลักดันให้เกิดขึ้น อีกทั้งช่วยให้นักธุรกิจหญิงสามารถขยายและเพิ่มมูลค่าให้กับเครือข่ายของตนเองได้เป็นอย่างดี
สำหรับข้อมูลและรูปภาพเพิ่มเติม
รักษิณา สุภัทท์นันทกุล: มิดาส คอมมูนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล
อีเมล: ruksina@midas-pr.com โทร: 080-304-8870 เว็บไซด์: www.midas-pr.com

เกี่ยวกับ คอนเนคติ้ง ฟาวเดอร์ (Connecting Founders)
ก่อตั้งขึ้นในปี 2558, คอนเนคติ้ง ฟาวเดอร์ส อุทิศตนเพื่อผลักดันผู้หญิงก้าวขึ้นเป็นผู้นำในวงการธุรกิจ ของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น วูเมน อิน บิสซิเนส (Women in Business) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในแง่ของการติดต่อและการเชื่อมความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆไปสู่ผู้ประกอบการหญิงในรุ่นต่อไป งานนี้ยังสอนผู้หญิงให้เรียนรู้สร้างธุรกิจของตนเองขึ้น และมอบวิธีการที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีให้กับเครือข่ายของตนเอง