ความอันตรายที่ซุกซ่อนอยู่ภายใต้ “Internet of Everything” การเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของไต้หวัน

0
518
image_pdfimage_printPrint

งานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ CES ที่ได้จัดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่ไต้หวัน ซึ่งเป็นงานแสดงเกี่ยวกับ Internet of Things (IoT) ซึ่งได้กลายมาเป็น “Intelligence of Things” โดยได้รวมองค์ประกอบของ 5G และ AI เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่ากลุ่มอุปกรณ์ IoT ทั่วโลกนั้นจะมีมากถึง 45.4 พันล้านชิ้น ภายในปี 2566 นี้ ซึ่งคาดการณ์ว่า 50% ของทั้งหมดจะเป็นอุปกรณ์อัตโนมัติภายในบ้านและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย, ตามมาด้วยนวัตกรรมเพื่อยานยนต์อัจฉริยะ (IoV), โรงงานอัจฉริยะ, การจัดการด้านสินทรัพย์, มาตรวัดเชื้อเพลิง มาตรวัดน้ำและไฟฟ้า, รวมไปถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคอื่น ๆ อีก
การใช้อินเตอร์เน็ตที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมในหลาย ๆ รูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น ข้อมูลความลับของบริษัท รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วย ซึ่งหากจะให้เปรียบเทียบก็เหมือนกับเหตุการณ์ของเชื้อโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ในตอนนี้ ที่กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากทั่วโลก เพราะไวรัสคอมพิวเตอร์มีการปรับเปลี่ยนตัวเองไปในรูปแบบต่างๆ และการโจมตีของมันก็นำไปสู่ความเสียหายที่สำคัญๆหลายอย่าง ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกและการดำเนินธุรกิจโดยรวม จากผลสำรวจในปี 2561 ของ CrowdStrike บริษัทผู้ให้บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านไอทีชั้นนำของโลก ที่ได้เข้าไปสำรวจบริษัทกว่า 1,300 แห่งพบว่า กว่าร้อยละ 66 เคยมีประสบการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ และมีมูลค่าความเสียหายกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุการณ์ทางไซเบอร์นี้ได้ถูกบันทึกไว้ว่า เป็นความเสียหายที่มากที่สุดในประวัติการณ์ของไต้หวัน การจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการดำเนินธุรกิจให้มีเสถียรภาพ
จากสถิติของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หรือ ITRI พบว่า ในปี 2562 มูลค่าการผลิตโครงข่ายรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของไต้หวันนั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 12.3% โดยมีมูลค่าถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2561 ทั้งนี้ 2 ปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลให้มูลค่าการผลิตสูงขึ้น คือ การส่งออกเครือข่ายอุปกรณ์ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยที่มีเพิ่มมากขึ้น และ ความต้องการบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับธุรกิจนี้ในไต้หวัน มูลค่าการส่งออกของสินค้าที่เกี่ยวกับเครือข่ายความปลอดภัย (เช่น Firewalls รวมไปถึงแพลตฟอร์มเครือข่ายต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย), ระบบปฎิบัติการ Back-end และการป้องกันความปลอดภัยของอุปกรณ์มือถือ (ชิปที่ช่วยในการระบุลายนิ้วมือ, เฟิร์มแวร์ตัวประมวลผลความปลอดภัย), และการรักษาความปลอดภัยของ IoT รูปแบบใหม่ (เกตเวย์ หรือ จุดต่อเชื่อมของเครือข่าย) มีมูลค่ารวมแล้วกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นมูลค่าการบริการด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (การตรวจสอบความปลอดภัยทางไซเบอร์, การจัดการระบบปฏิบัติงาน) คาดว่าจะสูงกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งความต้องการนี้นำไปสู่มูลค่าการผลิตที่สูงขึ้นในอนาคต
เพื่อเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สารสนเทศและการสื่อสารของไต้หวันในระดับสากล ทางกรมการค้าต่างประทศ ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจของไต้หวัน ได้มอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมการค้ารัฐบาลไต้หวัน (ไททรา) เข้ามามีส่วนร่วมและวางแผนจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ในนิทรรศการหลักๆระดับนานาชาติ ในส่วนของการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่ได้รับรางวัลการันตีความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรมและคุณภาพของไต้หวัน (Taiwan Excellence) เช่น งาน Computex เมืองไทเป ที่จะจัดแสดงในเดือนมิถุนายน, Convergence India ในเดือนกรกฎาคม, งานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค Berlin’s IFA ในเดือนกันยายน, รวมไปถึง การประชุมระดับโลกทางด้านไอที (WCIT) และ งาน Indonesia Infrastructure Week (IIW) อยู่ในเดือนตุลาคม รวมไปถึงการจัดงานแถลงข่าวระดับนานาชาติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลเชิงลึกในการพัฒนาภาคธุรกิจ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำของไต้หวัน ได้แก่ ZYXEL, VIVOTEK และ Edgecore
• ZYXEL – AiShield บริการการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลความปลอดภัยบนคลาวด์ เมื่อเปิดใช้งาน AiShield ผู้ใช้งานจะสามารถระบุอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงทั้งหมดของตนเองได้ เพื่อเป็นการป้องกันมัลแวร์, การหลอกเอาข้อมูลผ่านอีเมล, รวมไปถีงการโจมตีและการคุกคามของแฮ็กเกอร์

• VIVOTEK ได้เปิดตัวโซลูชั่นการจัดการทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำของโลก โดยโซลูชั่นนี้ได้นำเสนอการป้องกันที่แน่นหนา เริ่มจากระบบหน้าบ้าน Front-end ของโครงข่ายกล้อง (IT9389-HT), ไปยังการบันทึกวีดีโอแบบดิจิตอล (ND9541P), และรวมไปจนถึงระบบหลังบ้าน Back-end ของซอฟต์แวร์บริหารจัดการและบันทึกภาพกล้องวงจรปิด (VAST 2) ระบบนี้จะสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นจากภัยคุกคาม และลดความเสี่ยงของการใช้งานจากระบบกล้องวงจรปิดที่ใช้ไอพีเป็นสื่อกลางได้อีกด้วย

• Edgecore Networks ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นเครือข่ายสำหรับผู้ประกอบการ, ศูนย์ข้อมูล, และผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคม ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ล่าสุด L2+/Lite L3 10G Ethernet Aggregation Switch – ECS5520-18X ซึ่งเป็นสวิตซ์การจัดการประสิทธิภาพสูง 10GbE พร้อมพอร์ตอัปลิงค์ 40GbE สองพอร์ต และได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อรวบรวมผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการเข้าด้วยกัน

รางวัล Taiwan Excellence Awards ก่อตั้งโดยกระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) ในปี พ.ศ. 2536 ผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์นี้ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวด โดยมีเกณฑ์การพิจารณา 4 หัวข้อ คือ การวิจัยและพัฒนา, การออกแบบ, คุณภาพและการตลาดที่คัดเลือกโดยรัฐบาล และผลงานที่ได้รับรางวัลนี้เป็นตัวแทนผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงความยอดเยี่ยม และความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม สัญลักษณ์นี้ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักทั่วโลกมากกว่า 106 ประเทศ
ทำความรู้จักกับ Taiwan Excellence ได้ที่ : http://bit.ly/37XipEA หรือผ่านทาง Facebook : https://www.facebook.com/TaiwanExcellence.TH/