ความพยายามในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวบังเกิดผลแล้วที่เมืองสุ้ยหนิง ประเทศจีน

0
477
image_pdfimage_printPrint

การประชุมระดมสมอง “สีเขียว” ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ก.ย. ที่ผ่านมา ณ เมืองสุ้ยหนิง มณฑลเสฉวนทางตะวันตกของจีน การประชุมดังกล่าวมีชื่อว่า “2018 Green Economy Suining Conference” ซึ่งดึงดูดเหล่าผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ประกอบการจีนชื่อดังรวมกันได้เกือบ 300 ท่าน พวกเขารวมตัวกันในงานแห่งนี้ และมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนหลากหลายแง่มุมและเชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียว โดยมีเมืองสุ้ยหนิงเป็นเป้าหมายสำคัญ

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 เมืองสุ้ยหนิงเป็นเมืองที่ยังไม่เป็นอิสระจากต้นแบบการเกษตรดั้งเดิมที่ฝังรากลึก แต่ในปีเดียวกันนี้ เมืองสุ้ยหนิงก็ได้ให้คำมั่นในการเบิกหนทางใหม่แห่งการพัฒนา เพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมที่ฝังแน่นและเพื่อก้าวสู่อนาคต

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความเขียวของธรรมชาติได้กลายเป็นความสวยงามใหม่ของเมือง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรม ได้เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมดั้งเดิมด้วยสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ การผลิตอัจฉริยะ วัสดุแบบใหม่ ระบบโลจิสติกส์อันทันสมัย และอุตสาหกรรมเกิดใหม่อื่น ๆ การก่อสร้างและการทำให้เป็นเมืองสีเขียวที่มีขึ้นตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษนั้น ส่งผลให้พื้นที่เมืองในปัจจุบันมีสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว 12.86 ตารางเมตรต่อหัว มีอัตราพื้นที่สีเขียวที่เสร็จสมบูรณ์แล้วครอบคลุมอยู่ 41.35% และมีอัตราพื้นหญ้าที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ครอบคลุมอยู่ราว 37.47% โดยทะเลสาบกวนอิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำใจกลางเมือง มีพื้นที่ 14.8 ตารางกิโลเมตร และสุ้ยหนิงยังเป็นหนึ่งในเมืองผู้บุกเบิกของจีนที่ริเริ่มการก่อสร้าง “เมืองฟองน้ำ” นอกจากนี้ รายงาน “State of China Cities” ฉบับปี 2561 ซึ่งเผยแพร่โดยหน่วยงานด้านการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ (UN Habitat) และสมาคมการผังเมืองจีน (UPSC) ได้นำภาพของเมืองสุ้ยหนิงเป็นภาพหน้าปกพร้อมด้วยหัวข้อ “การสร้างเมืองสีเขียวในจีน” มากไปกว่านั้น เมืองแห่งนี้ยังได้รับหลากหลายรางวัล ทั้งยังได้รับการขนานนามอันเป็นที่ปรารถนา อาทิ “เมืองสีเขียวของโลก” และ “เมืองสวนสาธารณะนานาชาติ”

ในวันที่ 26-27 ก.ย. ที่กำลังจะถึงนี้ เมืองสุ้ยหนิงเตรียมจัดการประชุม Green Development Science and Technology Conference ภายใต้แนวคิดหลัก “พลังงานสะอาด: แรงขับเคลื่อนใหม่เพื่อการเติบโตสีเขียว” ซึ่งเหล่าผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ประกอบการชื่อดังจากทั้งในประเทศและต่างประเทศจะมารวมตัวกันอีกครั้ง และแลกเปลี่ยนมุมมองในหลากหลายประเด็นร้อน อาทิ พลังงานสะอาดและการจัดเก็บพลังงาน ยานยนต์พลังงานใหม่ การเงินสีเขียว ความร่วมมือระหว่างเมืองสีเขียวตามโครงการ “เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21” การปลุกความมีชีวิตชีวาในหมู่บ้านแถบชนบท และการพัฒนานวัตกรรม การประชุมดังกล่าวจะก่อให้เกิดการผสมผสานโดยตรงระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพัฒนาสีเขียว และทุกแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับประชาชน