การเล่นพื้นบ้านไทยได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติไทย
ในวัยเด็กของใครหลายคนอาจเคยได้สัมผัสกับการเล่นพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็น มอญซ่อนผ้า กาฟักไข่ รีรีข้าวสาร งูกินหาง หรือแม้แต่ ลิงชิงหลัก ฯลฯ ซึ่งนอกเหนือจากความสนุกสนานเพลิด เพลินแล้ว การเล่นเหล่านี้ที่แม้บางชนิดจะห่างหายไม่ได้รับความนิยมเหมือนเก่าก่อน
แต่ก็ยังมากด้วยคุณค่าเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรม รวมถึงสร้างชื่อเสียงได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ
จากการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติในสาขากีฬาภูมิปัญญาไทยประเภทการเล่นพื้นบ้านที่ผ่านมา นอกเหนือจาก ตี่จับ, ว่าวไทย, แย้ลงรูและหมากรุกไทยแล้ว ยังมีไม้หึ่ง, หมากเก็บ และเสือกินวัว ซึ่งครบพร้อมด้วยคุณค่าความสนุกสนานและจากความต่อ
เนื่องการขึ้นทะเบียนกีฬาภูมิปัญญาไทย หรือที่เรียกว่ามรดกทางวัฒนธรรมสาขากีฬาภูมิปัญญานับแต่ปีแรก 2553 ได้ขึ้นทะเบียน มวยไทย ปีต่อมาขึ้นทะเบียนฯ ว่าวไทย ตะกร้อ ตี่จับ กระบี่กระบอง แย้ลงรู โดยแย้ลงรูการเล่นพื้นบ้านชนิดนี้ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติอย่างมาก
ดังบทความข้างต้นที่ รศ.ชัชชัย โกมารทัต ผู้เชี่ยวชาญกีฬาพื้นเมืองไทย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสาขากีฬาภูมิปัญญาไทย กระทรวงวัฒนธรรม ได้ให้สัมภาษณ์ไว้กับหนังสือพิมพ์เดลินิวส์จะพบว่า การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาภูมิปัญญา
ไทยนั้นเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ให้ส่งต่อถึงคนรุ่นหลัง เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมาของรากเหง้าของวัฒนธรรมชาติไทยไม่ให้เลือนหายไปตามกาลและเวลา
สมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการจึงได้เล็งเห็นคุณประโยชน์ของการเล่นพื้นบ้านและกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาไทย จึงได้จัด”การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ของประชาชนในจังหวัด
สมุทรปราการ”ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อทำหน้าที่สืบทอดวัฒนธรรมของชาติไทย ให้ส่งต่อสืบทอดถึงเยาวชนรุ่นหลังต่อไป
ขอขอบคุณบทความอ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 24 มกราคม 2556 หน้าวาไรตี้