การเผาทำลายงาช้างครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์โลก

0
362
image_pdfimage_printPrint

ivory-burn

10 พฤษภาคม 2559 / เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางการสาธารณรัฐเคนยาได้ดำเนินการเผาทำลายงาช้างและนอแรดของกลางที่ยึดมาได้จากขบวนการลักลอบล่าสัตว์และค้าสัตว์ที่ผิดกฏหมาย จำนวนกว่า 106 ตัน ณ อุทยานแห่งชาติเคนยาในกรุงไนโรบี เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมายและการพรากชีวิตสัตว์นานาชนิดไป

การเผาทำลายของกลางครั้งนี้เป็นผลมาจากการการประชุมสุดยอดผู้นำแอฟริกาเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดการกับการลักลอบล่าช้างป่าที่ผิดกฎหมาย โดยจำนวนงาช้างที่เผาในครั้งนี้มีจำนวนมากเท่ากับช้างถึง 6,000 ถึง 7,000 ตัวเลยทีเดียว ซึ่งตลาดค้างาช้างผิดที่กฎหมายนั้นมักจะอยู่ในทวีปเอเชีย ที่มีค่านิยมเชื่อว่างาช้างเป็นเครื่องตกแต่งที่แสดงถึงสถานะทางสังคมและความร่ำรวย

อนึ่ง ทวีปแอฟริกาเป็นบ้านของช้างจำนวนประมาณ 450,000-500,000 ตัว แต่ในแต่ละปีมีช้างถูกล่าเพื่อเอางามากกว่า 30,000 ตัว โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศแทนซาเนียสูญเสียประชากรช้างไปถึง 65% ส่วนประเทศโมซัมบิกสูญเสียประชากรช้างไปถึง 50% ขณะที่การเผางาครั้งล่าสุดของทางการเคนยา เป็นการเผางาช้างจำนวนมากกว่าที่เคยทำลายมา จนถึงตอนนี้ทั้งหมดรวมกันถึง 7 เท่า มูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคิดเป็น 5% ของจำนวนงาช้างที่เก็บเอาไว้ทั่วโลก ขณะที่ประเทศแอฟริกาที่เป็นบ้านของแรดแอฟริกากว่า 80% นั้น มีจำนวนแรดถูกฆ่าในปี 2015 จำนวน 1,175 ตัว ซึ่งมีสัดส่วนแรดถูกล่าเพิ่มขึ้นถึง 8,900 เท่าของปี 2007 ที่มีแรดถูกฆ่า 13 ตัว

ช้างตกเป็นเป้าหมายการล่าของผู้ลักลอบค้าสัตว์ป่ามากว่าทศวรรษ โดยในปัจจุบันผู้กระทำความผิดนั้นทำกันเป็นขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการขยายเป้าหมายไปสู่สัตว์สายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งนอกจากกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังกระทบต่อความมั่นคงของชาติ หลักนิติรัฐ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ตลอดจนทรัพยากรที่สำคัญของชุมชนและประเทศ
จากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เราพบว่าวิธีการแก้ปัญหาคือการประสานความร่วมมือกันทั้งผู้กำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในหน่วยงานต่างๆ ความเป็นมืออาชีพ การดูแลทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน การร่วมมือกันของทุกภาคส่วน และการลดการบริโภคสินค้าสัตว์ป่า

ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (LEEO-WEN) กล่าวว่า“การประชุมสุดยอดผู้นำในวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงถึงการต่อสู้กับอาชญากรรมสัตว์ป่าและพืชป่า ซึ่ง LEEO-WEN ได้มีส่วนร่วมกับการดำเนินการทั้งในระดับนานาชาติ ทวีปและระดับโลกมาโดยตลอด เช่น ในประเทศกาบองกำลังมีการปรับเอาข้อมติการประชุมสามัญทั่วไปของสหประชาชาติเกี่ยวกับการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายมาใช้ในประเทศ เช่นเดียวกับในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ที่ได้รับการเห็นชอบเมื่อปีที่แล้วก็มีการระบุถึงการลดการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย ในขณะที่การหารือในการประชุมความร่วมมือจีน-แอฟริกา (FOCAC) ที่ประเทศจีนและประเทศแอฟริกา 50 ประเทศเห็นชอบที่จะทำงานรวมกันในการต่อสู้กับอาชญากรรมสัตว์ป่าและพืชป่า นอกจากนี้ ผู้นำสหภาพแอฟริกาได้รับรองยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการทำงานเพื่อต่อต้านอาชญากรรมเกี่ยวกับการล่าและการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย และแผนปฏิบัติการ 2015 ซึ่งเรากำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลนานาชาติในการนำข้อตกลงเหล่านี้มาปฏิบัติใช้จริง”

การผลักดันเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในแอฟริกา
ปัจจุบันพื้นที่ป่าและพื้นที่ธรรมชาติกำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ จากการรุกล้ำของสิ่งปลูกสร้างทางสาธารณูปโภคพื้นฐานและการทำการเกษตร ซึ่งบริษัทเอกชนและบริษัทข้ามชาติเรียกว่าการพัฒนา เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบูรณาการการใช้พื้นที่เข้ากับการรักษาพื้นที่คุ้มครองและแหล่งน้ำที่คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเอาไว้

การตัดใจในการจัดสรรพื้นที่ทางธรรมชาติและทรัพยากรชีวภาพในวันนี้ จะกำหนดอนาคตระยะยาวของคน เศรษฐกิจ และความหลากหลายทางชีวภาพของแอฟริกา เราจึงต้องร่วมมือกันเพื่อรักษาธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้ตั้งแต่วันนี้
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ ผู้อำนวยการ LEEO-WEN
โทร 08-6781-9555 Email: leeo.aseanwen@gmail.com