การประชุม International Forum on One Korea มุ่งแสวงหาหนทางรวมชาติเกาหลีท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด ความวุ่นวายในสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเมือง

0
601
image_pdfimage_printPrint

Global Peace Foundation, Action for Korea United และ Alliance for Korea United USA ผนึกกำลังจัดการประชุมออนไลน์เพื่อแสวงหาโอกาสในการผลักดันการรวมชาติเกาหลี
ดร.ฮยอนจิน เพรสตัน มุน เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาชู “การรวมชาติอย่างมีหลักธรรม” เป็นเป้าหมายหลักของนโยบายต่างประเทศว่าด้วยคาบสมุทรเกาหลีและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อช่วยให้ชาวเกาหลีบรรลุเป้าหมายในการรวมคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียวและมีอิสรภาพ
“ในแง่ยุทธศาสตร์ สหรัฐควรตระหนักว่าการรวมชาติอย่างมีหลักธรรมคือทางออกที่ยั่งยืนในระยะยาวของการปลดอาวุธนิวเคลียร์และการสร้างสันติภาพในภูมิภาค กระบวนการรวมชาติเกาหลีควรได้รับการสนับสนุนทั้งในเชิงเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมือง” เหมือนที่เคยมีการใช้แผนการมาร์แชลหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ดร.มุนแสดงความคิดเห็นดังกล่าวในการประชุมออนไลน์ระดับโลก International Forum on One Korea ซึ่งจัดขึ้นพร้อมกับการรวมตัวของผู้นำจากทั่วเกาหลีในวาระครบรอบ 75 ปีที่คาบสมุทรเกาหลีได้รับอิสรภาพจากการตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งนี้ ดร.มุนเป็นผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิ Global Peace Foundation ซึ่งร่วมสนับสนุนการประชุมครั้งนี้
ดร.เอ็ดวิน ฟวลเนอร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Heritage Foundation ในสหรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้เกาหลีกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญ “หลังจากที่ความพยายามหลายครั้งในอดีตประสบความล้มเหลว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ต่างมองว่า การรวมชาติเกาหลีเป็นแนวทางสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ”
ดร.ฟวลเนอร์ อ้างถึงหนังสือเบสต์เซลเลอร์ของดร.มุน ที่มีชื่อว่า “Korean Dream” ซึ่งตอกย้ำวัฒนธรรมและค่านิยมร่วมกันของชาวเกาหลี และระบุว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องผลักดันการรวมชาติเกาหลีนอกเหนือจากขอบข่ายของรัฐบาล ด้วยการรวบรวมเสียงสนับสนุนจากชาวเกาหลีทั้งหมด
ในหนังสือ Korean Dream ดร.มุน เรียกร้องให้มีการรื้อฟื้นหลักการดั้งเดิมในการก่อตั้งเกาหลี เพื่อให้เป็นหลักธรรมที่สามารถอุดช่องว่างระหว่างชาวเกาหลีใต้กลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มหัวก้าวหน้า ซึ่งจะนำไปสู่การอุดช่องว่างระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ในที่สุด
ดร.มุนกล่าวว่า เกาหลีใหม่ที่เกิดจากการรวมชาติ “ต้องหยั่งรากอย่างมั่นคงด้วยการยึดมั่นในหลักการและหลักธรรมที่เป็นสากล ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่อิสรภาพอย่างแท้จริง แนวคิด “ฮงอิก อินกัน” ซึ่งหมายถึงการทำเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ คือความปรารถนาดั้งเดิมของชาวเกาหลี”
การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้นำภาคประชาสัมคมในเกาหลี เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในการผลักดันการรวมชาติเกาหลี โดยการประชุมจัดขึ้นในหัวข้อ “Realignment amid Global Changes: New Opportunities for a Free and Unified Korea” เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2563
อันโฮยัง อดีตเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี University of North Korean Studies กล่าวว่า ก้าวแรกของการรวมชาติคือการบรรลุฉันทามติในประเทศบนพื้นฐานของเสรีภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิในการเลือกนับถือศาสนา
เขากล่าวว่า การรวมชาติเยอรมนีเกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประธานาธิบดีบุชของสหรัฐกับนายกรัฐมนตรีโคลของเยอรมนี รวมถึงความเข้าใจร่วมกันของทุกชาติที่เกี่ยวข้อง
บรรดาผู้ร่วมอภิปรายจากสหรัฐแสดงความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับศักยภาพด้านนิวเคลียร์และสังคมปิดของเกาหลีเหนือ พร้อมกับตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของภาคประชาสังคมในการเชื่อมสองเกาหลี
“วิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก่อให้เกิดความเสี่ยงมหาศาล แต่ก็สร้างโอกาสมากมายเช่นกัน ซึ่งรวมถึงโอกาสในการกำจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงให้สิ้นซากไปจากคาบสมุทรเกาหลี โอกาสในการให้จีนมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในฐานะมหาอำนาจใหม่ โอกาสในการต้อนรับชาวเกาหลีเหนือสู่โลกที่ประกอบด้วยชาติต่าง ๆ ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และในระยะยาวอาจนำไปสู่การรวมชาติเกาหลีภายใต้รัฐบาลที่สนับสนุนเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย” ดร.วิลเลียม พาร์กเกอร์ อดีตประธานสถาบัน EastWest Institute กล่าว
การประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Global Peace Foundation, Action for Korea United และ Alliance for Korea United USA โดยเป็นการประชุมครั้งแรกจากหลายครั้งที่มีกำหนดจัดขึ้นตลอดปี 2563 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.globalpeace.org/international-forum-one-korea
ติดต่อ:
อีเมล: media@globalpeace.org
โทร: 202.643.4733
วิดีโอ – https://www.youtube.com/watch?v=Zs4MwvDl3e8
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1228862/Global_Peace_Foundation_International_Forum_on_One_Korea.jpg