องค์กร Global Forum on Human Settlements (GFHS) ได้ปิดฉากการประชุมประจำปี 2018 ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวัน World Cities Day 2018 การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก Advancing Urban Innovations to Achieve SDG 11 and New Urban Agenda (NUA) และมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 400 ท่าน จากกว่า 40 ประเทศตลอดสองวันของการจัดงาน ซึ่งรวมถึงคุณ Hongjoo Hahm รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิกของสหประชาชาติ (UNESCAP), เอกอัครราชทูต Anwarul K. Chowdhury อดีตรองเลขาธิการและผู้แทนระดับสูงขององค์การสหประชาชาติ ในฐานะประธาน GFHS ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีจากวานูอาตู ไทย และรัฐบาลประเทศอื่นๆ รวมไปถึงนายกเทศมนตรี เหล่าผู้เชี่ยวชาญ และผู้นำจากภาคธุรกิจ
ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ได้ประกาศพันธสัญญาที่จะให้การสนับสนุนเมืองที่มีความยั่งยืนและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ และมีการมอบรางวัล Sustainable Cities and Human Settlements Awards (SCAHSA) ให้แก่ผู้ชนะ 36 ราย อาทิ เมืองหัวหิน ประเทศไทย, เมืองอินดอร์ ประเทศอินเดีย, โครงการ Kalundborg Symbiosis ประเทศเดนมาร์ก, สวนนิเวศจีน-เยอรมันในเมืองชิงเต่า ประเทศจีน และโครงการ Arcadis Shelter Program เป็นต้น ซึ่งผู้ได้รับรางวัลล้วนมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อการสร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืน
การประชุมครั้งนี้จัดโดยองค์กร Global Forum on Human Settlements ด้วยความสนับสนุนจากคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกของสหประชาชาติ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากสมาคม Global One Belt One Road Association, มูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ในบรรดาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ทั้งหมด 17 ข้อนั้น SDG ข้อที่ 11 ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเวทีการประชุมครั้งนี้ให้ความสำคัญกับศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของเมืองต่างๆ ในการสนับสนุนนวัตกรรม และผลักดันการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเน้นย้ำถึงความสำคัญที่แน่นแฟ้นของนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินการในระดับท้องถิ่น และการดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยความเป็นหุ้นส่วนที่มีความครอบคลุม มีความร่วมมือ ปฏิบัติได้จริง และมีความเท่าเทียมกัน ด้วยการทำลายระบบชนชั้นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เพศ และภูมิศาสตร์
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นระบบ IGMC 3-D ที่สร้างจากชีวิตของครอบครัว SaSa ซึ่งมีสมาชิก 3 คน และได้รับแรงบันดาลใจจาก IGMC Standards 3.0 ทำให้เห็นภาพว่า เมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนั้นมีลักษณะอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อช่วยในการนำมาตรฐาน IGMC Standards 3.0 มาผนวกรวมกับการวางผังและการพัฒนาเมือง ทั้งนี้ Standards เป็นเครื่องมือประเมินและวางแผนเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งทำให้มีวิธีทางเทคนิคและวิธีการประเมินในการดำเนินเป้าหมาย SDGs และ NUA ในระดับท้องถิ่น
การประชุมครั้งนี้ปิดฉากลงอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการกำหนดแนวทางในอนาคต และการรณรงค์เพื่อยกระดับการดำเนินการตามเป้าหมาย SDGs ให้เหมาะสมกับท้องถิ่น และสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน การขยายการให้เงินสนับสนุนแก่โครงสร้างพื้นฐานในเมืองอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการน้ำในเมืองอย่างยั่งยืน การใช้เทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมสำหรับเมืองอัจฉริยะ การสร้างความเป็นหุ้นส่วนแบบเพิ่มพูน และการสร้างเมืองต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสากล