การประชุมหารือกฎหมายสัตว์ป่าสงวนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

0
758
image_pdfimage_printPrint

Debate-CU

23 สิงหาคม 2559 / คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและมูลนิธิฟรีแลนด์จัดการอภิปรายสาธารณะและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายสัตว์ป่า ในการประชุมเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ระหว่างประเทศครั้งที่ 16 กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าของไทยได้รับการพิจารณาในระหว่างการอภิปรายว่า พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของประเทศไทย มีช่องโหว่ทางกฎหมายหลายข้อและบทลงโทษที่เบาเกินไป จนขบวนการค้าสัตว์ป่าไม่เกรงกลัวต่อความผิด ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วแทบไม่มีผู้ต้องหาถูกจำคุก ในขณะที่ธุรกิจการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายมีเงินหมุนเวียนถึง 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
การเสวนาครั้งนี้เป็นการหารือแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) อาจารย์และนิสิตนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเรื่องเร่งด่วนในการปรับปรุงกฎหมายสัตว์ป่าของไทยกับสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน ผู้เข้าร่วมต่างเห็นพ้องถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดี ซึ่งอาจปรับเอากฎหมายอื่นมาใช้ด้วย เช่น พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติซึ่งอนุญาตให้บังคับใช้กับผู้กระทำความผิดได้
ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกล่าวว่า “การออกกฎหมายใหม่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การบังคับใช้กฎหมายมีความสำคัญไม่แพ้กัน และความร่วมมือทั้งสองสิ่งจำเป็นต้องทำร่วมกันไป เพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายให้เข้ากับความเจริญในสังคม”