การขับเคลื่อนระบบจัดการข้อมูลอันชาญฉลาดบนยุค “แพลตฟอร์มที่ 3” ของประเทศไทย

0
293
image_pdfimage_printPrint

กรุงเทพฯ 12 มิถุนายน 2557 การจัดการข้อมูล กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แรงกดดันในงบประมาณที่จำกัด ความต้องการในการดึงข้อมูลที่รวดเร็วและง่ายดายขึ้นและการใช้งานของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ทที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรไทยที่จะป้องกัน  จัดการและเข้าถึงข้อมูล จากผลการวิจัยของไอดีซี ไวท์เปเปอร์ (IDC whitepaper)ที่คอมม์วอลท์ให้การสนับสนุน ในหัวข้อเรื่อง การจัดการข้อมูลอย่างชาญฉลาดในยุคแพลตฟอร์มที่สาม-การเข้าสู่การจัดการและปกป้องข้อมูลสำคัญแบบบูรณาการร้อยละ 89 ของผู้ประกอบการไทยต้องการที่จะลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล แต่จากการสำรวจพบว่า องค์กรไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับย้ายโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชียแปซิฟิก เพื่อให้บริษัทสามารถจัดการกับการเติบโตของข้อมูลและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

มร.แดเนียล-โซอี้ ฮิเมเนซ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายโปรแกรมข้อมูล Big Data และการวิเคราะห์ การจัดการข้อมูลและแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมขององค์กร (ผู้เขียนนโยบาย) กล่าวว่า “การบริหารจัดการข้อมูลยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญที่สุดขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ Big Data และระบบคลาวด์ ทั้งหมดนี้ต้องการแนวทางใหม่ในการจัดการ การค้นหาและการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน การมีภาพรวมทั้งหมดของข้อมูลทุกรูปแบบ ทั้งในส่วนของแอพพลิเคชั่นของอุปกรณ์ต่างๆ ระบบปฏิบัติการและสถานที่เป็นสิ่งสำคัญ”

 

การจัดการข้อมูลไร้โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่และปริมาณที่มากขึ้นในประเทศไทย

 

ทั้งทั่วโลก และเช่นเดียวกันกับในประเทศไทย ธุรกิจต่างๆ ถูกบังคับให้จัดการกับการเติบโตของข้อมูลจำนวนมาก โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน ในประเทศไทยแม้ว่าการเติบโตของข้อมูลจะน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก แต่การเพิ่มพูนของข้อมูลกลายเป็นเรื่องยากมากที่จะจัดการซึ่งมากกว่าประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก องค์กรไทยกำลังดิ้นรนหาวิธีการจัดเก็บ การเข้าถึงและเรียบเรียงข้อมูลของพวกเขา

 

จากผลการวิจัย บริษัทไทยทั้งหมดทำการจัดเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็น ในฐานข้อมูล (ร้อยละ 58) หรือตามที่ต่างๆ ภายในสำนักงานของพวกเขา (ร้อยละ 42) มากกว่าหนึ่งในสาม (ร้อยละ 34) ขององค์กรไทยต้องทำการค้นหาข้อมูลเพื่อดึงข้อมูลของตนจากแต่ละไซโลที่ถูกจัดเก็บในที่ที่แตกต่างกัน ในขณะที่เพียงแค่ร้อยละ 17 ขององค์กรในส่วนอื่นๆ ของภูมิภาคต้องเผชิญกับความท้าทายนี้ นอกจากนี้ร้อยละ 26 ขององค์กรไทย มีความยากลำบากในการเรียกข้อมูลเก่าที่มีอายุมากกว่าห้าปี ในขณะที่ร้อยละ 21 ขององค์กรในประเทศ พบว่าเป็นการยากที่จะค้นหาข้อมูลของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการกำกับการตามกฎระเบียบ หรือ eDiscovery ระบบจัดการเอกสารบนอินเตอร์เน็ต ที่สามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน

 

การเปิดรับกลยุทธ์การจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

 

เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมใหม่ในด้านข้อมูล ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดนโยบายที่ระบุว่าข้อมูลใดที่ควรจะเก็บไว้ หรือ ทิ้งไป และถ้าเก็บไว้ควรจะเก็บไว้ที่ใด องค์กรที่ใช้วิธีปฏิบัติการจัดการศูนย์กลางข้อมูลแพลตฟอร์มที่ 3 (Third platform-centric data management processes) ควรให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายแบ่งประเภทของแพลตฟอร์มข้อมูลในการจัดเก็บ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอย่างมากมาย

 

“โดยทั่วไปจัดเก็บสำรองไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บบนแพลตฟอร์มสำรองมีแนวโน้มที่จะถูกเก็บไว้โดยอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันพื้นที่เก็บข้อมูลหลัก ได้รับการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีกว่าตามลำดับชั้นความสำคัญของข้อมูล” คุณสมุจจ์ ถนัดสร้าง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ จำกัด กล่าว

 

นอกเหนือจากสิ่งซึ่งเป็นเรื่องยากมากสำหรับบริษัทต่างๆ คือเรื่องการกู้ข้อมูล จัดเก็บข้อมูลในแหล่งเก็บข้อมูล และฐานข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูง บริษัทไทยสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนข้อมูลโดยการเพิ่มประสิทธิภาพลำดับชั้นการจัดเก็บและการใช้กลยุทธ์การจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

คุณสมุจจ์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า”ความซับซ้อนในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นในเรื่องการจัดการข้อมูลไร้โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่และปริมาณที่มากขึ้นนั้นสร้างความกังวลให้แก่องค์กรไทยเป็นอย่างมาก องค์กรต่างๆ ไม่เพียงแต่เริ่มที่จะตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บข้อมูล ผู้บริหารทางด้านสารสนเทศขององค์กรไทยยังเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลในอนาคตได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่จัดเก็บของแหล่งข้อมูล”

 

มากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรไทย (ร้อยละ 53) ให้ความสำคัญต่อการสำรองข้อมูลที่ง่ายต่อการใช้งานและการกู้คืนข้อมูล เมื่อเทียบกับร้อยละ 32 ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ร้อยละ 51 ขององค์กรไทยระบุว่า หนึ่งในแง่มุมที่สำคัญที่สุดของการสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล คือความสามารถในการป้องกันและจัดการข้อมูลได้ทุกประเภท การสำรวจยังพบว่าบริษัทไทย (ร้อยละ 42) มีความกระตือรือร้นที่จะใช้โซลูชั่นแบบครบวงจร (end-to-end solution) ที่ช่วยให้การป้องกัน การจัดการและการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้จากแพลตฟอร์มเพียงหนึ่งเดียว

 

 

“ระบบปฎิบัติการเดียวของคอมม์วอลท์ (single platform) โซลูชั่นการจัดการข้อมูล ซอฟต์แวร์ซิมพาน่า (Simpana) สามารถช่วยตอบโจทย์ความต้องการด้านจัดการข้อมูลที่กำลับเกิดขึ้นในปัจจุบัน องค์กรไทยตระหนักถึงประโยชน์ของระบบปฎิบัติการเดียว single platform จะเห็นได้ว่าร้อยละ 77 ขององค์กรไทย รู้สึกได้ว่าพวกเขาสามารถปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในเครือข่ายและประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ด้วยแพลตฟอร์มเดียวแบบครบวงจร โดยการรวมศูนย์การดำเนินงานการจัดการข้อมูลจากแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มแบบครบวงจร  ความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล เช่น เรื่องประสิทธิภาพในป้องกัน การจัดเก็บแบบถาวร การเก็บข้อมูลซ้ำ การค้นหาและตำแหน่งของข้อมูล ความซับซ้อนเหล่านี้สามารถถูกกำจัดให้หมดไปได้” คุณสมุจจ์ ถนัดสร้าง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ จำกัด กล่าว

 

–      ร้อยละ 30 ของผู้ประกอบการไทยคาดการณ์ว่า ข้อมูลของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 – 50 ปีต่อปี ขณะที่ ร้อยละ 8 ของ ผู้ประกอบการไทยบางราย กลับอ้างว่าข้อมูลของพวกเขาเติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 50 ทุกๆ ปี1 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่า ร้อยละ 39 ของผู้ประกอบการในเอเชียแปซิฟิกคาดการณ์ว่าข้อมูลของพวกเขาเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 20– 50 ปีต่อปี และร้อยละ 17 ของผู้ประกอบการบางรายกล่าวว่าข้อมูลของพวกเขาเติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 502

–       มากกว่า 1 ใน 3 ของหน่วยงานไทย (ร้อยละ 34) จำเป็นต้องกู้ข้อมูลจากแหล่งจัดเก็บข้อมูลหลายแห่งทั่วโลกเพื่อนำกลับมาใช้ ขณะที่ เพียงร้อยละ 17 ของหน่วยงานในส่วนอื่นๆ ของภูมิภาคที่เผชิญหน้ากับความท้าทายอันนี้3

–       ร้อยละ 26 ของหน่วยงานไทยมีความยุ่งยากในการดึงข้อมูลที่เก็บไว้นานเกิน 5 ปีอย่างรวดเร็ว (ร้อยละ 14 ในเอเชียแปซิฟิก) และร้อยละ 21 ขององค์กรในประเทศพบความยากลำบากในการหาข้อมูลของบริษัทอย่างรวดเร็วเพื่อวัตถุประสงค์ตามคำขอ การค้นหาข้อมูลอิเล็กทรอนิก (eDiscovery)หรือการกำกับดูแล(ร้อยละ 13 สำหรับเอเชียแปซิฟิก)4

–      ร้อยละ 15 ของหน่วยงานไทยคาดการณ์ว่า ข้อมูลขององค์กรร้อยละ 76 – 100 ได้รับการบันทึกในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ขณะที่มีเพียงร้อยละ 7 ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่บันทึกข้อมูลถึงร้อยละ 76 – 100 ไว้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว5

–      บริษัทของไทยที่ได้รับการสำรวจทั้งหมด เก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล (ร้อยละ 58) หรือในหลายๆที่ภายในสำนักงาน (ร้อยละ 42)ซึ่งสอดคล้องกับที่อื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก แม้ว่าจะมีฐานข้อมูล (ร้อยละ 36) และหลายๆ ที่ (ร้อยละ 22) แต่หลายบริษัทในภูมิภาคก็ยังคงใช้ศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูล (ร้อยละ 35) ซึ่งต่างจากประเทศไทย6

–      ร้อยละ 70 ของหน่วยงานไทยคาดการณ์ว่า ผู้ใช้งานแทบไม่เคยอัพโหลดข้อมูล หรือใช้พื้นที่คลาวด์ รวมทั้งเว็บไซต์สำหรับแชร์ไฟล์ ขณะที่หน่วยงานในเอเชียแปซิฟิกก็คาดการณ์ในลักษณะเดียวกันโดยคิดเป็นร้อยละ 537

–      ร้อยละ 69 ของหน่วยงานในประเทศกลุ่มอาเซียนตรวจจับการสื่อสารแบบโต้ตอบ แต่มีเพียงร้อยละ 52 ที่นำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ ร้อยละ 79 ของหน่วยงานในเอแพค มีระบบตรวจจับการสื่อสารแบบโต้ตอบ แต่มีเพียงร้อยละ 52 ที่นำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนและเอแพค มีวิดีโอที่ได้รับการตรวจจับโดยหน่วยงานถึงร้อยละ 45 อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 29 ของหน่วยงานในภูมิภาคที่วิเคราะห์ข้อมูลวิดีโอ8

–      ร้อยละ 81 ของบริษัทในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมเพื่อประกอบการตัดสินใจ การวิเคราะห์ หรือเพื่อการวางแผนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง9

 

เกี่ยวกับงานวิจัยของไอดีซี

คอมม์วอลท์ได้สนับสนุนงานวิจัยของไอดีซีในหัวข้อ ‘การจัดการข้อมูลอย่างชาญฉลาดในยุคแพลตฟอร์มที่สาม การเข้าสู่การจัดการและปกป้องข้อมูลสำคัญแบบบูรณาการ’ ซึ่งเป็นการสำรวจความท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลในบริบทของ ‘แพลตฟอร์มที่สาม’ การศึกษาเป็นไปตามงานวิจัยแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิทั่วทั้งตลาดการวิเคราะห์ทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) ข้อมูลเชิงลึกในงานวิจัยมาจากการรวมผลการสำรวจและศึกษา 3 ชิ้นที่ทำขึ้นโดยไอดีซี ในปี พ.ศ. 2556 ดังนี้

–      ผลการสำรวจการจัดการข้อมูลอันชาญฉลาดในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของไอดีซี (IDC SDM Survey)ที่ได้รับการสนับสนุนโดยคอมม์วอลท์เมื่อเดือนกันยายน/ตุลาคม 2556 ไอดีซีได้ดำเนินการสำรวจทั่วทั้งอุตสาหกรรมแนวดิ่งในเอเชีย แปซิฟิกเพื่อทำความเข้าใจการจัดการข้อมูลชั้นสูงและความท้าทายต่อบริบทของกระแสสำคัญอย่างเช่น Big Data และคลาวด์ ผลการวิจัยเป็นไปตามข้อมูลเชิงลึกที่ได้รวบรวมจากผู้บริหารฝ่ายไอทีกว่า 500 รายทั่วทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซียรวมทั้งประเทศไทย

–      ซี-สวีท บารอมิเตอร์ C-Suite Barometer) ของไอดีซีประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) ซี-สวีท บารอมิเตอร์เป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลความลับและข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้หน่วยงานกว่า 100 แห่งในเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นให้คะแนนความสำคัญของธุรกิจและไอที ความกดดันและการตั้งค่าที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ

–      ผลสำรวจการจับชีพจรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกของไอดีซี เป็นการจัดหาข้อมูลความลับและข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้หัวหน้าฝ่ายข้อมูลสารสนเทศน์และหัวหน้าฝ่ายไอทีทั่วทั้งทวีปเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) ให้คะแนนและจัดอันดับความสำคัญของการวิเคราะห์ธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวการสำรวจครอบคลุมประเทศ อุตสาหกรรมแนวดิ่ง และข้อมูลเชิงลึกที่เฉพาะเจาะจงกับขนาดขององค์กร

 

เกี่ยวกับคอมม์วอลท์
วิสัยทัศน์อันเป็นหนึ่งเดียว คือ ความเชื่อมั่นในในการตอบสนองการจัดการข้อมูลด้วยวิธีที่ดีกว่าทั้งในปัจจุบันและอนาคต- นำพาคอมม์วอลท์ให้พัฒนาการจัดการข้อมูลอันเป็นหนึ่งเดียว (Singular Information Management®) เพื่อหาวิธีป้องกันข้อมูลอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความพร้อมระดับสากลและความเรียบง่ายในการจัดเก็บข้อมูลในเครือข่ายที่ซับซ้อน แพลตฟอร์มเดี่ยวของคอมม์วอลท์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษทำให้หลายบริษัทจัดการกับข้อมูล ควบคุมค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้ คอมม์วอลท์ ช่วยให้ธุรกิจและหน่วยงานสาธารณะ รวมถึงผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสามารถปกป้อง จัดเก็บ จัดการและเข้าถึงข้อมูลทั้งองค์กรด้วยโมดูลซิมพานา (Simpana)ซึ่งประกอบด้วยการปกป้องข้อมูล (Data Protection)การเก็บเข้าแฟ้ม (Archive)การสำเนา (Replication)การค้นหา (Search)และการจัดการแหล่งที่มา (Resource Management)โดยมีหลายบริษัทสนใจเข้าร่วมค้นหาประสิทธิภาพที่หาตัวจับยาก ความสามารถ ความน่าเชื่อถือ การควบคุม ที่มีอยู่ในการบริการของคอมม์วอลท์เท่านั้น สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอมม์วอลท์ได้ที่ www.commvault.com คอมม์วอลท์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โอเชี่ยนพอร์ต รัฐนิวเจอร์ซี ในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

1 IDC/CommVault (2013) ‘Smart data in the big data era’ survey, Jimenez

2 Ibid

4 Ibid

5 Ibid

6 Ibid

7 Ibid

8 Ibid

9 Ibid