การขนส่ง-คลังสินค้า กลุ่มงานที่ตลาดต้องการ พร้อมทักษะพิเศษ อัตลักษณ์ที่โดดเด่นในกลุ่มแรงงานโลจิสติกส์และพาณิชยนาวี

0
233
image_pdfimage_printPrint

เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาคการศึกษา แรงงาน เศรษฐกิจ ทุกๆ สิ่งล้วนแล้วแต่มาพร้อมกันตลอด โดยเฉพาะการศึกษาและแรงงาน เมื่อมีการทราบข่าวการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้ง 2 ภาคส่วนนี้มีการตื่นตัวมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในส่วนของแรงงานที่มีการเพิ่มศักยภาพ มีการฝึกฝนและเสริมสร้างทักษะต่างๆ ให้กับตนเอง เพื่อให้พร้อมรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันและในอนาคต ในส่วนของภาคการศึกษาของไทยได้มีการตื่นตัวเช่นกัน โดยในแต่ละสถาบันก็มีการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิต นักศึกษาแตกต่างกันไป แต่ที่แน่นอนที่ขาดไม่ได้คือการฝึกทักษะด้านภาษาต่างประเทศ “ภาษาอังกฤษ” ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อเปิด AEC

 

นายคมสัน โสมณวัตร ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า สถาบันการศึกษาทุกๆ สถาบันของไทยในปัจจุบันได้มีการตื่นตัวเมื่อทราบข่าวการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีการเตรียมความพร้อมด้านการเรียนการสอน การสร้างอัตลักษณ์ การเสริมสร้างทักษะในด้านต่างๆ ให้กับนักศึกษา โดยวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เราได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนเปิด AEC ในด้านทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐาน ทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่นักศึกษาทุกๆ ต้องสอบให้ผ่านก่อนจบการศึกษา แต่เมื่อทราบข่าวการเปิด AEC เราได้มีการเตรียมพร้อมให้กับนักศึกษาเพิ่มขึ้น ในด้านทักษะภาษาโดยการเชิญวิทยากรชาวต่างชาติ จากวอลล์สตรีทอิงลิช มาสอนให้กับนักศึกษาหลังเวลาเลิกเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2555 และต่อเนื่องมาถึงปีนี้ รวมถึงการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยทางวิทยาลัยฯ มีการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาโดยการออกศึกษาดูงานในสถานที่จริง อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นบรรยากาศการทำงาน และเห็นสถานที่การทำงานจริงๆ และในทุกๆ รายวิชาที่เป็นวิชาเอกเราได้มีการเชิญวิทยากรที่มีความรอบรู้ในด้านสาขาวิชานั้นๆ มาบรรยายเพื่อเสริมข้อมูลให้กับนักศึกษา พร้อมด้วยกลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ให้กับนักศึกษาที่ใกล้จบการศึกษา โดยการสร้างความโดดเด่น การสร้างตัวตนให้กับนักศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ เช่น การให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสายงานก่อนการทำงานจริง เป็นต้น เพื่อให้เป็นที่นักศึกษาที่จบการศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการต่อไป

 

 

 

และในปีนี้วิทยาลัยฯ ยังได้เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาทุนมนุษย์สู่สังคมแห่งอนาคตปี 2” กับการร่วมมือกันกับ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผ่านกิจกรรมโรดโชว์ “The Road to Success in Dream’s Career 2013” แบ่งฝัน ปันอาชีพ สู่อนาคตบัณฑิตใหม่ โดยเป็นกลุ่มนักศึกษาปีสุดท้ายในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และสาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อเป็นการแนะแนว แนะเคล็ดลับในการเตรียมความพร้อมก่อนการหางาน การปรับบุคลิกภาพสู่โลกวัยทำงาน การสร้างการตลาดให้กับตนเองโดยเขียน Resume เคล็ดลับการค้นหาตลาดงาน การให้ความรู้และแนะนำเรื่องการหางานให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง พร้อมเปิดมุมมองในเรื่องอาชีพ และความก้าวหน้าทางอาชีพ เพื่อให้นักศึกษาได้วางแผนด้านอาชีพก่อนจบการศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โครงการฯ นี้ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดงานอย่างแท้จริงๆ โดยสถิติตัวเลขของนักศึกษาในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์จาก 3 รุ่นที่จบการศึกษา มีงานทำจำนวน 97% ของบัณฑิตที่จบการศึกษา โดยแบ่งเป็นหน่วยงานเอกชนที่ตรงตามสายงานในหน่วยงานภาคเอกชนจำนวน 62% หน่วยงานราชการจำนวน 18% และอื่นๆ 17% โดยฐานเงินเดือนที่ได้รับอยู่ที่ 12,000 – 16,800 บาท จำนวน 86% ของบัณฑิตที่จบการศึกษา สายงานในกลุ่มโลจิสติกส์ที่เป็นที่ต้องการทางการตลาดตอนนี้คือ ธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า ซึ่งมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก และเป็นสายงานที่จะโตตามตลาดในขณะนี้ รวมไปถึงไนอนาคตเมื่อเปิด AEC   นายคมสัน กล่าวสรุป