1

กลุ่มผู้นำเกษตรกรระดับประเทศประกาศเป็นแนวร่วมสนับสนุนการปรับแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒

หลังวาระการประชุมเพื่อการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ผู้บริหารกลุ่มองค์กรการเกษตรระดับประเทศส่วนใหญ่ ต่างเห็นพ้องและเดินหน้าสนับสนุนกระบวนการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับดังกล่าว

ผศ. ดร. ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย รศ. ดร. จวงจันทร์ ดวงพัตรา นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา นายกสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย และ นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธุ์เกษตรปลอดภัย จัดการประชุมโต๊ะกลมร่วมกับตัวแทนกลุ่มเกษตรกร นักวิชาการ และสื่อมวลชน เพื่อพูดคุยและรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญด้านการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยกลุ่มผู้นำองค์กรการเกษตรในประเทศไทยได้มีการลงนามและประทับตราสัญลักษณ์ของกลุ่มองค์กรเพื่อแสดงเจตจำนงร่วมกัน

สหภาพนานาชาติเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (International Union for the Protection of New Varieties of Plants : UPOV) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีภารกิจด้านการจัดหาและสนับสนุนการใช้ระบบการทำงานในด้านความหลากหลายของพันธุ์พืชและการคุ้มครองพันธุ์พืช โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่เพื่อมอบประโยชน์สู่สังคมโดยรวม

ระบบการทำงานมุ่งเน้นในเรื่องการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืช ซึ่งเรื่องนี้อาจทำให้เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาบางส่วนเข้าใจผิดว่า ตนเองจะถูกกีดกันจากการใช้งานเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง และทำให้เกษตรกรรู้สึกเสียเปรียบ ในขณะเดียวกัน กลับมีผู้โต้แย้งว่า แท้ที่จริง การคุ้มครองพันธุ์พืชน่าจะมีข้อดีมากกว่า เพราะจะทำให้เกษตรกรสามารถนำเมล็ดพืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งสามารถต้านทานโรคและศัตรูพืชได้ดีกว่าเดิม ไปใช้งานอย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น

การอภิปรายกันในประเด็นดังกล่าวนี้นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาหาร และมีประชากรที่ประกอบอาชีพในภาคการเกษตรอยู่เป็นจำนวนมาก ฝ่ายรัฐบาลไทยแสดงการยอมรับในภารกิจของ UPOV โดยมีข้อยกเว้นเพื่อสงวนสิทธิ์และประโยชน์บางประการ
ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอาหาร อาหารสัตว์ เส้นใย และพลังงานอย่างยั่งยืน มีการดำเนินงานกันอย่างจริงจังภายใต้สภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการคุ้มครองสิทธิทางปัญญาและการถกเถียงถึงประเด็นที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรและนักพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้

เป้าหมายของการประชุมเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ยังครอบคลุมถึงเรื่องสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์พืชในประเทศไทยและภารกิจของ UPOV
ภายใต้กฎข้อบังคับ UPOV1991 ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับสิทธิ์บางประการในการใช้เมล็ดพันธุ์ ซึ่งรวมถึงข้อยกเว้นสำหรับผู้เพาะเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกซึ่งไม่มีจุดประสงค์ทางการค้า อาทิ การปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เป็นต้น
ร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งประเทศไทยฉบับปัจจุบัน ยังระบุถึงข้อยกเว้นในกรณีที่รัฐมนตรีผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องตัดสินอนุมัติให้กระทำได้

เกี่ยวกับสหภาพนานาชาติเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV)
สหภาพนานาชาติเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนานาชาติ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ UPOV ก่อตั้งขึ้นตามข้อตกลงในการประชุมนานาชาติเพื่อการปกป้องพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งจัดขึ้นที่นครปารีสเมื่อปี ค.ศ. 1961 และมีการแก้ไขรายละเอียในปี ค.ศ. 1972 , 1978 และ 1991 โดย UPOV มีภารกิจด้านการจัดหาและสนับสนุนการใช้ระบบการปฏิบัติงานในด้านความหลากหลายของพันธุ์พืชและการคุ้มครองพันธุ์พืช โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่เพื่อมอบประโยชน์สู่สังคมโดยรวม
====================================

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
รักษิณา สุภัทท์นันทกุล
บริษัท มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด
อีเมล: ruksina@midas-pr.com
โทรศัพท์ 080-304-8870
เว็บไซต์: www.midas-pr.com