กระทรวงไอซีที ผนึก สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย จัดงาน “Thailand Local Government Summit 2015” สัมมนาวิชาการ ICT Solutions และแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ภายใต้แนวคิด “ดิจิทัลขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย” 1 – 2 ธ.ค. ศกนี้
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยและองค์กรภาคี เตรียมจัดสัมมนาวิชาการ ICT Solutions และแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือ “Thailand Local Government Summit 2015” (ชื่อเดิมคือ Aor Por Tor Summit ซึ่งทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ร่วมเป็นเจ้าภาพอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2012-2014) จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2558ภายใต้แนวคิดหลัก : Digital Transformation for Local Government สัมมนาวิชาการ : ดิจิทัล ขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนา ICT ให้เกิด “ประสิทธิภาพ” ด้วยแนวคิด “พัฒนา” อย่างต่อเนื่องในแนวทาง “บูรณาการ” มุ่งนำท้องถิ่นไปสู่ Green Digital Society เปิดโอกาสให้บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียนรู้ความก้าวหน้าและประยุกต์ใช้ ICT เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นจาก Smart Province สู่ Smart Thailand
นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที เป็นที่ทราบกันดีว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีแก่ประชาชนในท้องถิ่น ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คำว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ Digital Economy กำลังเป็นประเด็นที่ประเทศไทยและ ทั่วโลกให้ความสำคัญเนื่องจากปรากฎการณ์ Digital Transformation และ Internet of Things กำลังเข้ามามีบทบาททั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก ซึ่งกล่าวกันโดยทั่วไปว่าปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องพัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานเพื่อก้าวสู่ยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล บนพื้นฐานของการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบ Digital Local Government หรือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งในแง่การดำรงชีวิตและประกอบอาชีพของประชาชน มุ่งสู่การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้แนวคิด Green Digital Society เพื่อก้าวสู่สังคมอุดมปัญญาหรือ Digital Thailand
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการผลักดันและสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยกระทรวงฯ ได้ทำการสร้างศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ในชุมชนต่างๆ หลากหลายรูปแบบ กระจายทั่วประเทศไทย และจะดำเนินการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อสร้างรายได้และสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนโดยจะมีการปรับรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน จากเดิมที่มีลักษณะเหมือนห้องเรียนและสอนเฉพาะเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่เมื่อปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชน จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นเหมือนห้องประชุม เพื่อให้ชุมชนนำแนวคิดหรือไอเดียต่างๆ มาหารือกัน โดยกิจกรรมหลักๆ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้แต่ละชุมชนเกิดการซื้อขายสินค้าและบริการในรูปแบบ e-Commerce เกิดขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีผู้นำชุมชนที่มีการสร้างเครือข่ายอย่างต่อเนื่องจะเป็นกลไกสำคัญในการปรับทัศนคติคนในชุมชนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ได้ให้การสนับสนุนเป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยจัดงานอบรมสัมมนาวิชาการ “Thailand Local Government Summit 2015” ภายใต้แนวคิดหลัก : Digital Transformation for Local Government ภาษาไทยใช้ชื่อว่า “ ดิจิทัล ขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย” ในระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทราบถึงการนำดิจิทัลมาช่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ในทุกมิติของการให้บริการประชาชน อาทิ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การจัดการภัยพิบัติ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการแพทย์ ตลอดจนการนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานของทางราชการ การบริหารจัดการด้านงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า เป็นต้น
สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนและร่วมจัดงานอบรมสัมมนา “Thailand Local Government Summit 2015” ในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานอบรมสัมมนาดังกล่าวจะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิสัยทัศน์ แนวคิดในบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้ไอซีทีอย่าง บูรณาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนได้อย่างเหมาะสมต่อไป ขอบคุณค่ะ
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ในฐานะเลขานุการการจัดงาน กล่าวว่า งาน Thailand Local Government Summit 2015 เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้นำและบุคลากรในองค์กรบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยเนื้อหาจะครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับความท้าทายใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสนใจและเตรียมพร้อมรองรับ เช่น สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โลกในยุคดิจิทัลและเทคโนโลยี การรู้เท่าทันและประยุกต์ใช้ ICT เพื่อบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ความเจริญควบคู่การตรวจสอบได้ ความสงบสุขของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการตระหนักถึงการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมทั่วประเทศ ด้วยแนวคิด Digital Transformation for Local Government เพื่อเดินหน้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกในอนาคตอันใกล้
ภายในงานจะมีสัมมนาวิชาการและปาฐกถาพิเศษหลากหลายหัวข้อ อาทิ ดิจิทัลเปลี่ยนโลก ประเทศไทยจะก้าวเดินอย่างไรอย่างมีเสถียรภาพ โดย รมว.ไอซีที ดร.อุตตม สาวนายน ปาฐกถาพิเศษ: ความท้าทายใหม่ของภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ แรงผลักดันไปสู่วาระท้องถิ่นดิจิทัล โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ปาฐกถาพิเศษ: กรุงเทพมหานคร ต้นแบบการพัฒนามหานครแห่งอนาคต โดย ดร.พีระพงศ์ ศิริเกษม ผู้ตรวจราชการสูง กรุงเทพมหานคร รวมถึงนิทรรศการแสดงเทคโนโลยี ICT จำลองการใช้ ICT เพื่อ Smart Health, Smart Education, Smart Services จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทัศนศึกษาและเยี่ยมชมหน่วยงานที่มีการนำ ICT ไปใช้เพื่อพัฒนาบริการประชาชนได้อย่างดีเยี่ยม การนำเสนอผลงานการบริหารท้องถิ่นดีเด่นด้วย ICT เป็นต้น
“การจัดงานครั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้นำและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบถึงประโยชน์และการประยุกต์ใช้ ICT อย่างบูรณาการ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างดีเยี่ยม รองรับ พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งยังสร้างความตื่นตัวและตระหนักว่า ICT มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการบริหารจัดการและพัฒนาท้องถิ่นเพื่อมุ่งสู่ความเป็นท้องถิ่นที่มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน จึงขอเชิญชวนทุกท่านสมัครเข้าร่วมงานนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558” ดร.ธนชาติ กล่าวทิ้งท้าย
นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล ผู้อำนวยการฝ่ายบริการให้คำปรึกษา สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)หรือ EGA (อีจีเอ) สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ชู GovChannel มุ่งสู่ One Stop Service โชว์ความร่วมมือภาครัฐ เปิดข้อมูลกว่า 2,500 เว็บไซต์ แอปฯ มือถือกว่า 100 แอปฯ พร้อมปูพรมเปิด 6 ช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่ายในทุกพื้นที่ ยืนยัน EGA ประกาศความพร้อมเปิดให้บริการ “ศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน Government Access Channel (GovChannel)” เพื่อเป็นช่องทางหลักอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถใช้บริการผ่านรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1. เว็บไซต์ egov.go.th แหล่งรวมเว็บไซต์ภาครัฐจำนวน 2,574 เว็บไซต์ จาก 454 หน่วยงาน 2. เว็บไซต์ apps.go.th แหล่งรวมแอปฯ ภาครัฐ ที่มีแอปฯ 108 บริการ จาก 68 หน่วยงาน หรือสามารถดาวน์โหลดแอปฯ GAC เพื่อช่วยค้นหาแอปฯ ภาครัฐที่มั่นใจได้ว่าจะไม่มีแอปฯ ปลอม 3. เว็บไซต์ data.go.th ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ที่มีจำนวน 420 ชุดข้อมูล จาก 58 หน่วยงาน ช่วยให้ประชาชนได้รับข้อมูลความจริงที่สามารถตรวจสอบได้จากภาครัฐ 4. Government Kiosk ตู้บริการเอนกประสงค์ของรัฐ ช่องทางเสริมในการเข้าถึงข่าวสารและบริการของรัฐ 5. Government Smart Box (สมาร์ทบ๊อก) ช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารความรู้ที่เป็นประโยชน์จากภาครัฐ และ 6. เว็บไซต์ Info.go.th ศูนย์รวมข้อมูล เพื่อติดต่อราชการสำหรับเป็นคู่มือประชาชนในการติดต่อรับบริการจากภาครัฐ
ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการอาวุโสประจำประเทศไทยและประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท วีเอ็มแวร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้นำด้านโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านเวอร์ชวลไลเซชั่นและคลาวด์ กล่าวว่า “ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูล ทำให้เกิดการใช้งานทรัพยากรด้านไอทีมากขึ้น เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการท้องถิ่น รัฐจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในศูนย์ข้อมูลที่มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถให้บริการแก่ประชาชนให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด วีเอ็มแวร์มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ชื่อว่า One Cloud, Any Application, Any Device ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบไอทีของภาครัฐสามารถใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น โดยใช้ซอฟต์แวร์ในจัดการทรัพยากรในศูนย์ข้อมูล ทำให้แผนกไอทีสามารถใช้ทรัพยากรไอทีที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า ควบคุมการทำงานของทรัพยากรไอทีได้แบบรวมศูนย์ และมีความปลอดภัย ”
เทคโนโลยีที่นำมาจัดแสดงในงาน“Thailand Local Government Summit 2015”
เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นของวีเอ็มแวร์ นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายด้านปฎิบัติการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังสามารถช่วยให้แผนกไอทีสามารถใช้งานทรัพยากรด้านไอที่ที่มีอยู่ในศูนย์ข้อมูลได้อย่างคุ้มค่า ในขณะเดียวกันยังช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ใช้งาน ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการสรรหาคอมพิวเตอร์ใหม่ ที่สำคัญเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นของวีเอ็มแวร์ยังสามารถช่วยสำรองข้อมูลได้ทันท่วงที่เมื่อเกิดกรณีภัยพิบัติ จึงมั่นใจได้ว่าการทำงานของหน่วยงานจะไม่ติดขัด ประชาชนก็จะได้รับความพึงพอใจจากบริการที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
กรณีศึกษา: การปรับใช้เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นในองค์กรภาครัฐ
ปัจจุบันมีลูกค้าทั่วโลกกว่า 500,000 ราย ที่ใช้เทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์ โดยขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา ได้แก่ กรมการขนส่ง ของ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบดูแลระบบการบิน การเดินเรือ ระบบขนส่งสาธารณะและทางหลวง
จากการเปิดตัวพอร์ทัลออนไลน์ที่ชื่อว่า www.darb.com ในปี 2554 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลระบบการเดินทางต่างๆ เช่น แผนที่การเดินทางรถ, รถบัส, เส้นทางเรือเฟอร์รี่ จึงมีการใช้งานเพิ่มขึ้น ทำให้ไอทีต้องขยายการซื้อเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลเพื่อรองรับ ซึ่งนอกจากที่หน่วยงานจะต้องลงทุนด้วยงบประมาณเป็นจำนวนมากแล้ว ไอทียังประสบปัญหาในการจัดการดูแลระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงปัญหาที่ไอทีไม่สามารถให้เตรียมโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้แบบออนดีมานด์เมื่อหน่วยงานต้องการสร้างพอร์ทัลออนไลน์ หรือใช้งาน ระบบ CRM, Oracle
ปัจจุบัน กรมการขนส่ง ของ กรุงอาบูดาบี ได้เวอร์ช่วลไลซ์เซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลไปแล้วกว่า 95% ทำให้ช่วยประหยัดพลังงาน แผนกไอที จัดการระบบได้ง่ายขึ้น ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น นี่คือตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีไปใช้จริงเพื่อรังสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรในองค์กร
เกี่ยวกับวีเอ็มแวร์
วีเอ็มแวร์คือผู้นำในด้านโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลไลเซชั่นและคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคสมัยของเทคโนโลยีคลาวด์ ลูกค้าไว้วางใจในเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์สำหรับการปรับปรุงรูปแบบการสร้าง นำเสนอ และใช้งานทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างลงตัว ในปี 2557 วีเอ็มแวร์มีรายได้ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีลูกค้ากว่า 500,000 ราย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานขายอยู่ใน 75,000 ประเทศต่างๆ ทั่วโลก หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.vmware.com
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จํากัด นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน “Thailand Local Government Summit 2015” สัมมนาวิชาการ ICT Solutions และแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ภายใต้แนวคิด “ดิจิทัลขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย” ที่จัดโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย และองค์กรภาคีอีกมากมาย
ปัจจุบัน การทำงานของทุกภาคส่วนแล้วแล้วต้องเชื่อมต่อกับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต และนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแปลงข้อมูลให้เป็นดิจิตอล ในงานนี้ เราจะนำเสนอโซลูชั่นและนวัตกรรมด้าน Internet of Things หรือ IoT ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง ทั้งด้านข้อมูล ภาพ เสียง และวิดีโอ โดยนำกรณีศึกษาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์บนอุปกรณ์ต่างๆ ทุกที่ทุกเวลา ระบบสื่อสารในการป้องกัน ภัยพิบัติ การเฝ้าระวังด้วยระบบกล้องวงจรปิดและซอฟท์แวร์ Analytics รวมถึงการการป้องกันภัยจากโลกไซเบอร์ (cyber security) เป็นต้น โดยผู้ที่มาร่วมงานจะได้พบกับต้นแบบการนำเทคโนโลยีด้านดิจิตอลมาพัฒนาบริหารจัดการท้องถิ่น และการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยี “Internet of Things”
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโซลูชั่นและกรณีศึกษาที่ซิสโก้จะนำเสนอในงานดัง กล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เพื่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาการให้ บริการจากภาครัฐ เพิ่มงานให้แก่คนในท้องถิ่น รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สิน
Cisco Showcase สำหรับงาน Local Government Summit 2015ในงานครั้งนี้ซิสโก้จัดทัพมาพร้อมโซลูชั่นที่น่าสนใจภายใต้แนวคิด Cisco IoT หรือ Internet of Things อันเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ กระบวนการ ข้อมูล และสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยในครั้งนี้ได้นำมาแสดงถึง 4 โซลูชั่นด้วยกันได้แก่
1. Cisco Collaboration:
a. Cisco Telepresence Solution หรือระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ คือ ระบบการนำเสนอหรือการประชุมแบบเสมือนจริงจากระยะไกลด้วยการผสานกันทั้งเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ด้านภาพ เสียง ผ่านระบบเน็ตเวิร์ค ทำให้สามารถสื่อสารได้อย่าง Realtime ด้วยภาพและเสียงระดับ high definition อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานแบบใหม่ ซึ่งทุกคน ทุกสถานที่สามารถสื่อสารกันได้เสมือนอยู่ภายในห้องประชุมเดียวกัน
b. Cisco IPICS หรือ Push-to-Talk Management (PMC) เป็นการขยายการสื่อสารด้วยเสียงไปยังวิทยุ โดยใช้แอพพลิเคชั่น “กดเพื่อพูด” (push-to-talk) สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะ เพื่อขยายเครือข่ายในการสื่อสาร ไปยังสภาพแวดล้อมที่สามารถใช้เพียงคลื่นวิทยุ อันเป็นต้นแบบการนำไปใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยพิบัติอัจฉริยะ ช่วยให้สามารถบริหารจัดการผ่านเครือข่ายจากศูนย์กระจายข่าวให้เข้าถึงผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ
2. Cisco Security Solution: จากรายงานของ PwC พบว่าในปี 2014 องค์กรต่างๆ ถูกโจมตีโดยแฮ็คเกอร์สูงขึ้นกว่าเดิมถึง 64% ดังนั้นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามในระดับองค์กร Cisco จึงนำระบบ Cisco Security ชั้นนำระดับโลกของบริษัท ที่มีความสามารถหลากหลาย พร้อมให้การปกป้ององค์กรได้ในหลายรูปแบบมาร่วมภายในงานนี้ เพื่ออุดช่องโหว่ขององค์กรและตอบโจทย์กับสถานการณ์ในปัจจุบัน
3. Cisco IP Video Surveillance: คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า Cisco ได้เข้ามาในตลาดธุรกิจความปลอดภัยทางกายภาพมานานแล้วพร้อมกับผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับพรีเมี่ยมผนวกเข้ากับเทคโนโลยีพื้นฐานของ Cisco ทำให้เกิดเป็นระบบ IP Video Surveillance อัจฉริยะ ที่สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ให้แยกแยะความแตกต่างได้ในระดับต่าง ๆ หรือสามารถนับจำนวนคนภายในพื้นที่สัญญาณ สามารถติดตามและบันทึกรูปแบบปัญหาต่างๆในพื้นที่ที่กำหนด และเก็บภาพถ่ายจากวีดีโอได้ไปพร้อมกับการจัดเก็บข้อมูลอันจะช่วยให้ท่านมีความมั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด
ในสมัยนี้มีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลของความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างไรบ้าง
• ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของผู้คน ทั้งในด้านการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ทางด้านของชีวิตประจำวันเราทุกคนต้องยอมรับว่าหากขาดเทคโนโลยีที่สำคัญๆ ไป ชีวิตประจำวันของเราคงจะลำบากขึ้นมากกว่านี้อีกหลายเท่าตัว โดยรวมถึงในด้านธุรกิจก็เช่นกัน ซึ่งสมัยนี้เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น ทำให้การผลิตมีราคาที่ถูกลงและสามารถผลิตได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น การให้บริการต่างๆ ก็ผ่านทางเทคโนโลยีมากขึ้นอีกด้วย เพิ่มความสะดวกรวดเร็วและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ในองค์กรทั้งระดับเล็ก กลางใหญ่ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนโซลูชั่นที่พัฒนามาเพื่อการทำธุรกิจโดยเฉพาะ
ซัมซุงมีบทบาทอย่างไรสำหรับการนำของเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร
•ซัมซุง บิสิเนสมุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไอที สมาร์ทโฟน ซึ่งคอยอำนวยความสะดวกที่ให้แก่ผู้ใช้หรือตลอดจนสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตัวธุรกิจต่างๆ ซึ่งซัมซุงมีผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าองค์กรหลากหลายประเภท ซึ่งเริ่มโฟกัสในกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากลายเหมาะกับความต้องการทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลางใหญ่ ซึ่งซัมซุงเป็นแบรนด์เดียวที่มีเครื่องใช้ฟ้าครบทุกหมวด (Complete Portfolio)
ซัมซุงตอบรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
•ซัมซุง บิสิเนส มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค และเห็นว่าองค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งเทคโนโลยีจะสามารถเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก อาทิ ร้านค้าต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีการดิสเพลย์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ มาใช้เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าอยากเข้ามาชมสินค้าภายในร้านหรือเพิ่มอัตราการเข้าหาข้อมูลในเว็บไซต์มากขึ้น โดยข้อมูลจากการวิจัยพบว่า 59% ของผู้บริโภคที่เห็นป้าย digital signage อยากจะหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าในป้ายนั้น
หรืออย่างเช่นล่าสุดซัมซุงโชว์นวัตกรรมหน้าจอ Transparent OLED Display ที่งาน IFA 2015 ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยองค์กรต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก
•ซัมซุงเองในฐานะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครื่องใช้ฟ้าและเทคโนโลยีดิจิตอล จะช่วยแนะนำแนวทางในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น สร้างความพอใจให้กับลูกค้า และประสบความสำเร็จเร็วขึ้น
นายจิระ จิรัจฉริยากูล ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท ดิ เอ็กซ์เพิร์ท ไอซีที จำกัด นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางบริษัท ดิ เอ็กซ์เพิร์ท ไอซีที จำกัด ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน “Thailand Local Government Summit 2015” สัมมนาวิชาการ ICT Solutions และแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ภายใต้แนวคิด “ดิจิทัลขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย” ที่จัดโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย และองค์กรภาคีอีกมากมาย
ตามที่ทุกท่านก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ เราต้องเปิดประตูสู่อาเซียนกันแล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่า เราคงต้องพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในฐานะเอกชนที่มีความรู้ความชำนาญในด้าน ICT มาไม่น้อยกว่า 20 ปี บริษัท ดิ เอ็กซ์เพิร์ท ไอซีที จำกัด จึงต้องการมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ประเทศไทย ของเรา มีอาวุธ มีความสามารถ และ มีศักยภาพที่เพียงพอต่อการแข่งขันอันใกล้นี้ ด้วยการนำเสนอ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า ยุคดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นในส่วนทางด้านการศึกษา ด้านบริหารจัดการ หรือด้านการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนสุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ ให้กับข้าราชการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้รับทราบและ รู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้าน ICT ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้กับการบริหารจัดการ การให้บริการ ตลอดจนการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กร ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานของข้าราชการและผู้ประกอบการ ตลอดจนสถาบันการศึกษา มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทำให้มีผู้คนจากต่างประเทศอยากมาลงทุนที่ประเทศไทยมากขึ้น เยาวชนของเราจะได้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญที่มากขึ้น พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า ทัดเทียมนานาอารยะประเทศต่อไป
ในงานนี้ ทางบริษัท ดิ เอ็กซ์เพิร์ท ไอซีที จำกัด จึงนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มากด้วยประสิทธิภาพ ตาม Concept ที่ท่านนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไทยได้กล่าวไว้ว่า Smart Health Smart Education Smart Services มาจัดแสดงได้แก่
•PANOPTO ระบบบันทึกและ สร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบวิดีโอที่ทันสมัย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ดูข้อมูลได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ ตามความสะดวก ทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ทำให้ผู้คนมีโอกาสในการเรียนรู้ได้เท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหลวงหรือ ดินแดนที่ห่างไกลความเจริญ
•นวัตกรรมของการนำเอาระบบ AVAYA HD VDO CONFERENCE มาผนวกกับอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้นับการดูแลด้านสุขอนามัยได้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
•“SEND QUICK” ระบบ CHAT ที่มีความฉลาด และมีคุณภาพสูงด้วยระบบความปลอดภัยป้องกันจากการถูกจารกรรมไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือรูปภาพ ระบบนี้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีบุคคลใดบ้างที่ได้อ่านข้อความที่เราส่งไป และ ยังสามารถลบข้อมูลจากเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้ที่เราไม่ประสงค์จะให้ทราบข้อมูลนั้นๆได้อีกด้วย