กรมวิชาการเกษตรจับมือกลุ่มวังขนาย ขยายฐานการผลิตอ้อยอินทรีย์ ป้อนน้ำตาลออร์แกนิกสู่ตลาดโลก

0
390
image_pdfimage_printPrint

ข่าวประชาสัมพันธ์

กรมวิชาการเกษตรจับมือกลุ่มวังขนาย ขยายฐานการผลิตอ้อยอินทรีย์
ป้อนน้ำตาลออร์แกนิกสู่ตลาดโลก

เมื่อเวลา 10.30 น. ของเมื่อวานนี้ (9 ก.ย.60) ที่ห้องประชุมโรงงานน้ำตาลวังขนาย อ.โกสุมพิสัย จ.มหา สารคาม นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาเป็นประธานใน งานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอินทรีย์ สุขภาพดี มีรายได้เพิ่ม ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตรและกลุ่มวังขนาย โดยนายสุวิทย์ได้กล่าวว่ากรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ปี 2560-2564 โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในปี 2564 กว่า 1 ล้านไร่ โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ซึ่งปัจจุบันยังมีน้อย ในขณะที่โรงงานน้ำตาลมีความต้องการอ้อยอินทรีย์เป็นวัตถุดิบ เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิกป้อนตลาดต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตรจึงได้ร่วมกับกลุ่มวังขนาย เพื่อจัดทำโครงการความร่วมมือผลิตอ้อยอินทรีย์และอ้อยสะอาดปลอดภัย ซึ่งจากการทำงานร่วมกันกับกลุ่มวังขนายมาตั้งแต่ปี 2555 โดยการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอินทรีย์อย่างถูกต้อง การจัดทำแปลงเรียนรู้แปลงต้นแบบการผลิตอ้อยอินทรีย์ การตรวจรับรองแปลงอ้อยอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีเกษตรกรร่วมโครงการอ้อยอินทรีย์รวมทั้งหมด 1,223 ราย เป็นพื้นที่ประมาณ 27,427 ไร่ โดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคาม มีเกษตรกรอ้อยอินทรีย์ จำนวน 283 ราย เป็นพื้นที่ประมาณ 4,554 ไร่ และผ่านการตรวจรับรองมาตรฐาน Organic Thailand ของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 90 ราย รวมพื้นที่ 1,502 ไร่ ได้ผลผลิตอ้อยอินทรีย์ 15,086 ตัน ซึ่งนับเป็นโรงงานน้ำตาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ผลิตอ้อยอินทรีย์และน้ำตาลออร์แกนิกมาตรฐาน Organic Thailand ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมคือ 1)การขยายพื้นที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ เพื่อขยายพื้นที่ปลูกอ้อยที่งดการใช้สารเคมีทุกชนิด ไม่ใช้พันธุ์อ้อยจากการตัดต่อพันธุกรรม ฟื้นฟู อนุรักษ์ สภาพแวดล้อม ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน 2)การผลิตอ้อยและน้ำตาลปลอดภัย โดยใช้มาตรฐานการปฏิบัติทางการ เกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็นในการปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อผลิตน้ำตาลที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ลดมลพิษจากการเผาอ้อย โดยรณรงค์ ส่งเสริมให้เกษตรกรตัดอ้อยสด และ 3)การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยในแปลงอ้อย โดยให้เกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยใส่แปลงปลูกอ้อยตามผลวิเคราะห์ตัวอย่างดินได้ เป็นการใช้ปุ๋ยอย่างประ หยัดมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเสื่อมสภาพของดิน และลดต้นทุนการผลิตอ้อยโรงงานด้วยครับ

ด้านนายบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มวังขนาย ได้กล่าวว่า “ที่ผ่านมาทางกลุ่มวังขนายได้จัดทำโครงการปลูกอ้อยอินทรีย์เป็นเวลานานกว่า 10 ปี และผลิตน้ำตาลออร์แกนิกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในปี 2554 โดยผ่านการรับรองมาตรฐานของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC 483/2007), มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA-NOP), มาตรฐานประเทศญี่ปุ่น (Japan Agriculture Standard; JAS) และมาตรฐานประเทศเกาหลี (Korean Organic) สามารถผลิตน้ำตาลออร์แกนิกได้จำนวน 15,000 ตัน จำหน่ายในประเทศประมาณ 75% และอีก 25 % จำหน่ายในประเทศแถบเอเชียและยุโรป ซึ่งได้แก่เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเลเชีย สิงค์โปร์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน โอเชียเนีย และนิวซีแลนด์ โดยกลุ่มวังขนายตั้งเป้าภายใน 3-5 ปีนี้ จะเพิ่มปริมาณอ้อยอินทรีย์ให้ได้ถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมดของกลุ่มวังขนาย เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิกส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ”

ปัจจุบันกลุ่มวังขนายมีความพร้อมในการพัฒนาผลิตอ้อยอินทรีย์ และอ้อยสะอาดปลอดภัย เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลติดตามและตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นโดยใช้ระบบควบคุมภายใน (CIS : Internal Control System) ก่อนที่จะตัดอ้อยอินทรีย์เข้าหีบเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิก นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ฟิลเตอร์เค้ก และสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ โดยในกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานอ้อยอินทรีย์ กลุ่มวังขนายจะเพิ่มค่าอ้อยให้ 100 บาทต่อตัน และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยนจะเพิ่มค่าอ้อยให้ 50 บาทต่อตัน และในปัจจบันยังมีการเก็บตัวอย่างดิน จากแปลงปลูกอ้อยของเกษตรชาวไร่อ้อยมากกว่า 20,000 ตัว อย่าง เพื่อส่งให้ทางกรมวิชาการเกษตรได้แนะนำการใช้ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ตัวอย่างดิน เพื่อเป็นการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรและกลุ่มวังขนายจะนำข้อมูลที่ได้รับและนำไปพัฒนาแอพพลิเคชั่นการใช้ปุ๋ยกับอ้อย ร่วมกันต่อไปในอนาคต

———————————————————-

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มวังขนาย
โทรศัพท์ 02-2100853 – 72, 089-2275777