“โครงการกองทุนการศึกษา” เพื่อหวังสร้างคนดีคืนแผ่นดิน พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

0
4383
image_pdfimage_printPrint

พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อด้านการศึกษานั้น มีมากมายหลายโครงการ เรื่องหนึ่งที่ยังความปลาบปลื้มและตื้นตันใจมาสู่คนวงการศึกษานั่นคือพระองค์ทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์เพื่อมาจัดตั้ง “โครงการกองทุนการศึกษา” เพื่อหวังสร้างคนดีคืนแผ่นดิน

เมื่อปี 2559 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการประสานงาน และ นายนพพร รอยลาภเจริญพร รองผู้อำนวยการสำนักงานโครงการกองทุนการศึกษา ได้ระบุถึงความเป็นมากองทุนการศึกษาไว้ว่าโครงการกองทุนการศึกษาเกิดขึ้นเมื่อเดือน ก.พ. 2555 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชกระแสรับสั่งไปยังประธานองคมนตรีว่า มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง มาทำให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนาการศึกษา ให้ทำแบบภาคเอกชน คือเรียบง่าย รวดเร็ว คล่องตัว แต่ต้องประหยัด พอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต และไม่ควรประชาสัมพันธ์เกินไป โดยให้ประธานองคมนตรีและคณะองคมนตรีดำเนินการรับสนองพระราชดำริ จึงตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยองคมนตรีเพื่อบริหารงาน และให้มีอาสาสมัครที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยและตั้งสำนักงานขึ้นเพื่อรองรับด้านธุรการ นั่นคือจุดเริ่มต้นของโครงการกองทุนการศึกษา

พระองค์พระราชทานแนวพระราชดำริให้ประธานองคมนตรีและคณะองคมนตรีไปช่วยคิดหาทางว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กเป็นคนดี ซึ่งสมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน วิธีการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไป ควรจะทำให้เป็นคนดีให้ได้ก่อนและเมื่อเป็นคนดีแล้ว ความเก่งก็จะตามมาได้ไม่ยาก เด็กจะต้องมีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนและสอนให้แก่กันเอง ช่วยกันเรียน ไม่ใช่แข่งกันเรียน และต้องมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามัคคีด้วย

อย่างไรก็ตามการจะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนได้นั้น ต้องเริ่มจากครูก่อน ครูต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู รู้หน้าที่ รักเด็กโดยไม่มีเงื่อนไข ทุ่มเทการสอนเต็มที่ และการจะทำอย่างนั้นได้ ชีวิตความเป็นอยู่ของครูก็ต้องดีพอสมควรกับฐานะในชุมชนนั้น ๆ ก่อนด้วย เพราะถ้าครูยังมีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดี ก็คงไม่มีจิตใจที่จะไปทุ่มเทการสอนให้แก่เด็ก ด้วยเหตุนี้ทางโครงการกองทุนการศึกษาจึงได้เริ่มจากการสร้างความพร้อมพื้นฐานทางกายภาพของโรงเรียน เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน รวมถึงบ้านพักครูซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าครูยังมีสภาพความเป็นอยู่พื้นฐานไม่ดี ก็คงไม่สามารถไปทุ่มเทการสอนได้เต็มที่ เรายึดหลักว่าเมื่อโรงเรียนและครูพร้อม พร้อมในที่นี้คือพร้อมพอสมควรกับสภาพแวดล้อมโรงเรียนนั้น ๆ ไม่ใช่หรูหราฟุ่มเฟือย ครูก็ย่อมมีจิตใจที่จะทุ่มเทให้แก่เด็ก

อย่างไรก็ตามการจะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนได้นั้น ต้องเริ่มจากครูก่อน ครูต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู รู้หน้าที่ รักเด็กโดยไม่มีเงื่อนไข ทุ่มเทการสอนเต็มที่ และการจะทำอย่างนั้นได้ ชีวิตความเป็นอยู่ของครูก็ต้องดีพอสมควรกับฐานะในชุมชนนั้น ๆ ก่อนด้วย เพราะถ้าครูยังมีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดี ก็คงไม่มีจิตใจที่จะไปทุ่มเทการสอนให้แก่เด็ก ด้วยเหตุนี้ทางโครงการกองทุนการศึกษาจึงได้เริ่มจากการสร้างความพร้อมพื้นฐานทางกายภาพของโรงเรียน เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน รวมถึงบ้านพักครูซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าครูยังมีสภาพความเป็นอยู่พื้นฐานไม่ดี ก็คงไม่สามารถไปทุ่มเทการสอนได้เต็มที่ เรายึดหลักว่าเมื่อโรงเรียนและครูพร้อม พร้อมในที่นี้คือพร้อมพอสมควรกับสภาพแวดล้อมโรงเรียนนั้น ๆ ไม่ใช่หรูหราฟุ่มเฟือย ครูก็ย่อมมีจิตใจที่จะทุ่มเทให้แก่เด็ก

ทั้งนี้สถานศึกษาสายสามัญศึกษาที่คัดเลือกมาร่วมโครงการนั้น จะมีลักษณะโดยทั่วไปคือ เป็นสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มักได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ หรือมีความสำคัญด้านความมั่นคงชายแดน เป็นสถานศึกษาที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นสถานศึกษาที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นตัวอย่างของการพัฒนาได้ หลายโรงเรียนที่เราคัดเลือกมาร่วมโครงการเป็นโรงเรียนที่อยู่ชายขอบซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์อย่างหลากหลายอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ทั้งนี้ทรงให้ศึกษาตัวอย่างจากโรงเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ต่าง ๆ เป็นแนวทางประกอบการดำเนินงานด้วย

ส่วนการคัดเลือกวิทยาลัยอาชีวศึกษามาร่วมโครงการ จะแตกต่างจากโรงเรียนสังกัด สพฐ. ด้วยมุ่งหวังที่จะแก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรม ประกอบกับการแนะแนวให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานนั้นเราจึงได้คัดเลือกวิทยาลัยกลุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรมในกรุงเทพฯและปริมณฑลมาร่วมโครงการ มีหลักสูตรและฝึกงานในสถานประกอบการเครือข่ายของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในรูปแบบสหกิจศึกษา ทำงานร่วมกับเหล่าทัพ โดยแนวทางการดำเนินการนั้น ในชั้นปีที่ 1 ทางเหล่าทัพมาช่วยฝึกระเบียบวินัยเบื้องต้น และปลูกจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักเรียน เมื่อขึ้นชั้นปี ที่ 2 จะให้เด็กไปฝึกงานในสถานประกอบการ ซึ่งได้ทั้งหน่วยกิตเรียน ได้ประสบการณ์ตรง และได้เบี้ยเลี้ยงตอบแทนด้วย การที่เราทดลองเช่นนี้เพราะเราพบว่าที่เด็กก่อเหตุมักมีเวลาว่างและอยู่นอกสถานศึกษา ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางที่ทำให้เด็กไม่ไปอยู่บนถนน ทำให้เด็กเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ จบไปแล้วมีงานทำ มีชีวิตที่ดีกว่ารออยู่

นอกจากนี้ โครงการกองทุนการศึกษาได้ช่วยแก้ไขปัญหาครูขาดแคลนด้วยการจัดสรรทุนสำหรับนักศึกษาวิชาครูที่มีภูมิลำเนาใกล้เคียงโรงเรียน เพื่อคืนถิ่นเป็นครูผู้สอนต่อไป ทั้งยังได้ช่วยจ้างครูระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูเป็นกรณีเร่งด่วน รวมทั้งโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา ตั้งคณะกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน ในท้องถิ่นคัดเลือกนักเรียนตัวอย่างที่ดี เรียกว่า ‘นักเรียนผู้รับทุนพระราชทาน’ โดยได้รับการสนับสนุนจนจบชั้นปริญญาตรี ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 300 คน และเป็นเรื่องน่าชื่นชมว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ช่วยรับช่วงต่อสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลายและเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรี โดยเริ่มภาคเรียนที่ 1/2559 ด้วย

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำริให้ประธานองคมนตรีและคณะองคมนตรีดำเนินงานโครงการกองทุนการศึกษา โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการด้วย ทั้งยังพระราชทานคำแนะนำให้เราเป็นเหมือน “ผู้ใหญ่ใจดี” ไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจเขาบ่อย ๆ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ช่วยเร่งอนุมัติงบประมาณในส่วนที่โรงเรียนดังกล่าวพึงจะได้รับเป็นปรกติอยู่แล้วแต่ว่าล่าช้า ให้ได้รับเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน เช่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพต่าง ๆ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์คุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ มูลนิธิ CCF เพื่อเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น

สำหรับบทบาทของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้น ต้องเท้าความไปเมื่อปี 2556 ที่วุฒิสภา (ส.ว.) นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในขณะนั้น ได้ตั้ง “คณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา วุฒิสภา” และได้มีการแต่งตั้งให้นายวิบูลย์ คูหิรัญ ส.ว.สรรหา (ในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งบทบาทหน้าที่ของ “คณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา วุฒิสภา” คือ 1.ประสานงาน กำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนที่ด้อยโอกาส 2.ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของวุฒิสภา เพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนที่ด้อยโอกาส 3.เชิญบุคคลภายนอกมาให้ความเห็นต่อคณะกรรมการฯ และ 4.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย

ต่อมาในปี 2557 เมื่อมีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมา ก็ได้มีการตั้ง “คณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)” ขึ้นมาสานต่อภารกิจเดิม โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่หนึ่ง เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ และนายวิบูลย์ คูหิรัญ ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในปี 2557 ก็ยังได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ สืบต่อมาอีกด้วย